มะไฟ
ชื่ออื่นๆ : แซเครือแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผะยิ้ว (เขมร-สุรินทร์) ส้มไฟ (ภาคใต้) หัมกัง (เพชรบูรณ์)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Burmese grape
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea ramiflora Lour.
ชื่อวงศ์ : Phyllanthaceae
ลักษณะของมะไฟ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาหม่นๆ ลักษณะของเปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ปลายเรียวแหลม กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ ด้านล่างนูน เนื้อใบค่อนข้างบางเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-7.5 ซม.
ดอก ดอกของมะไฟออกเป็นช่อสั้นๆ หรืออกเป็นกระจุกอยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายน แทงช่อดอกเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
ผล ผลเป็นรูปกลมเปลือกนอกหนา ห้อยลงมาเป็นระย้า ผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ข้างในมีเนื้อผลฟู หุ้มเมล็ดอยู่ 1-2 เมล็ด ผลสุกมีสีเหลืองมะไฟสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีวิตามันซี น้ำตาลและอื่นๆ สามารถเก็บผลได้ประมาณเดือนช่วงเดือนเมษายน
การขยายพันธุ์ของมะไฟ
การเพาะด้วยเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะไฟต้องการ
ประโยชน์ของมะไฟ
- ผล มะไฟสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีวิตามันซี น้ำตาลและอื่นๆ จึงใช้รับประทานเป็นผลไม้
- สามารถนำผลมาทำน้ำผลไม้ได้
- เปลือกต้น ให้สีดําน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า
สรรพคุณทางยาของมะไฟ
- ราก – แก้พิษฝีภายใน (วัณโรค) แก้ประไข้ประดง เจริญไฟธาตุ แก้ไข้ตรีโทษ ดับพิษร้อน แก้พิษฝีพุพอง ดับพิษร้อน แก้พิษสำรอก แก้เริม แก้พิษตานซาง แก้ฝีตานซางของเด็ก ดับพิษต่างๆ แก้ไข้ต่างๆ แก้พิษผี แก้พุพอง แก้พิษหัวลำลอก (ลำมะลอก)
- ต้น – บำรุงธาตุ เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ
- ใบ – แก้พยาธิ แก้กากเกลื้อน แก้ขี้เรื้อน เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ
- ดอก – เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ
- ผล – เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ
- ใบมี รสเผ็ด เย็น มีสรรพคุณแก้โรคหวัด แก้ไอ ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน บำรุงธาตุ แก้พิษฝี และขับปัสสาวะ
- ราก ยัง สามารถใช้เป็นยา โดยใช้รากสดหรือรากแห้ง เป็นยาแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค แก้ฝีภายใน ดับพิษร้อน เริม แก้ผิวหนังอักเสบ ชนิดที่เป็นถุงน้ำและลอกออกมา และใช้บรรเทาไข้ที่มีอาการปวดข้อปวดเข่าและมีผื่น เป็นคล้ายๆ ลมพิษที่เรียกกันว่า “ไข้ประดง”
- ผลใช้เป็นยาช่วยย่อย ช่วยละลายเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับเสมหะ
คุณค่าทางโภชนาการของมะไฟ
การแปรรูปของมะไฟ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10701&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment