มันเทศ มันแก๋วแดง ไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน

มันเทศ

ชื่ออื่นๆ : มันเทศ (ภาคกลาง) มันแกว, มันแก๋วแดง (ภาคเหนือ) หมักอ้อย (ละว้า-เชียงใหม่) แตลอ (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปอเมริกา

ชื่อสามัญ : Sweet Potato

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea batatas (L.) Lam.

ชื่อวงศ์ : Convolvulaceae

ลักษณะของมันเทศ

ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินอาจมีสีม่วงแดง ส้ม นวลและขาว รูปกระสวยหรือหัวยาว ลำต้นเลื้อยบนดินหรือตั้งตรง หรือเลื้อยพันยาว 1-5 เมตร ค่อนข้างเป็นเหลี่ยมหรือทรงกระบอก แตกกิ่งก้านมากที่ข้อมีราก มียาวขาว

ใบ  รูปไข่กว้างหรือรูปกลม กว้าง 4-11 ซม. ยาว 4-14 ซม. ขอบเรียบหรือจักเป็นแฉกมี 3-5 แฉก โคนฝบรูปหัวใจ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยงหรือมีขนกระจาย ก้านใบยาว 4-20 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบก้านช่อดอกแข็งยาว 3-18 ซม. เป็นสัน เกลี้ยงหรือมีขน ก้านดอกยาว 3-12 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน กลีบด้านนอกยาว 7-12 มม. หลายแหลมกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปกรวย ยาว 4-4.5 ซม. สีม่วงอ่อน

ผล  แห้ง รูปไข่มี 4 ช่อง หรือน้อยกว่านั้น เมล็ดเกลี้ยงมีขนาดเล็ก

มันเทศ
มันเทศ ลำต้นเลื้อยบนดิน มีหัวอยู่ใต้ดิน มีสีม่วงแดง

การขยายพันธุ์ของมันเทศ

ปักชำต้น

ธาตุอาหารหลักที่มันเทศต้องการ

ประโยชน์ของมันเทศ

  • หัวใต้ดิน ปรุงอาหาร แกงมัสมั่น แกงกะทิ แกงไตปลา ทำขนม
  • ยอดอ่อนนำมาแกงส้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก
  • หัวมันเทศนอกจากจะให้อาหารจำพวกแป้งแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามิน เอ  (โดยเฉพาะหัวที่มีสีเหลือง)  วิตามินบี และ วิตามินซี อีกด้วย

สรรพคุณทางยาของมันเทศ

  • ใบ ตำฟอกฝี
  • เถา ต้มดื่มแก้ไขข้ออักเสบ
  • หัว  ชงน้ำดื่มแก้กระหาย
  • น้ำ  บำรุงม้าม ไต แก้เมาคลื่น
  • น้ำคั้นจากหัว  ทาแก้แผลไฟไหม้
  • ทั้งต้นและหัว  มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

คุณค่าทางโภชนาการของมันเทศ

การแปรรูปของมันเทศ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10056&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment