มุ่น
ชื่ออื่นๆ : หัสคุณเทศ, สมัดน้อย, สมัดขาว (อีสาน) หมอน้อย, สีลม รุ้ย (กาญจนบุรี) อ้อยช้าง, หัสคุณ, หัสคุณโคก, ไม้หมี, เพี้ยฟาน, หญ้าสาบฮิ้น, สามโซก, ลิ้นฉี้, มะหลุย, หมุยหอม, หมุยขาว, หวดหม่อน, สามเสือ, ยม ชะมัด, หมี่, แสนโสก, ขี้ผึ้ง, สมัดใบใหญ่, กันโทร๊ก (เขมร) อ้อยช้าง, หอมพาน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausena excavata Burm. f.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะของมุ่น
ต้น ไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 1 เมตร
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายและโคนมน มีขนนุ่มๆ ปกคลุม ใบไม่หนาสีเขียวอ่อน ใบดกทึบ
ดอก ดอกเล็กทรงกลมสีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
ผล รูปไข่สีเขียวอ่อน เมื่อสุกเป็นสีส้มอมชมพู ผิวใสฉ่ำน้ำ
การขยายพันธุ์ของมุ่น
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มุ่นต้องการ
ประโยชน์ของมุ่น
ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานกับขนมจีน แกงหน่อไม้
สรรพคุณทางยาของมุ่น
- ใบ ใช้ตำพอกแผลสด แผลถลอก ช่วยห้ามเลือด
- ใบ ใช้ตำพอก ฆ่าหิด เหา
- ในใบและส่วนต่างๆ ของต้นมีน้ำมันหอมระเหย เป็น พืชสมุนไพรที่เชื่อว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคเอดส์และโรคมะเร็ง
คุณค่าทางโภชนาการของมุ่น
การแปรรูปของมุ่น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10212&SystemType=BEDO
http://area-based.lpru.ac.th
https://www.flickr.com