ยมหอม
ชื่ออื่นๆ : ยมฝักดาบ (ภาคเหนือ) เล้ย (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) สะเดาดง (กาญจนบุรี) สีเสียดหอม (พิษณุโลก) สีเสียดอ้ม (ไทย)
ต้นกำเนิด : กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toona ciliata M. Roem
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะของต้นยมหอม
ต้น ไม้ต้นสูงได้ถึง 35 เมตร โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกหนา สีเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึก
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อใบยาว 25-70 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 9-13 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม
ดอก ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อห้อยลง ยาว 40-50 เซนติเมตร ดอกบานขนาด 3.5-5 มิลลิเมตร มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน กลีบดอก 5 กลีบ ขนาด 3.5-5 มิลลิเมตร ในดอกแยกเพศจะยาวเพียง 1-3 มิลลิเมตร ผลสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ออกดอกและติดผลช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม
ผล ผลแห้งแตกตามยาว ผิวมีแผลระบายอากาศกระจายทั่วไป เมล็ดรูปยาวรี มีปีกสองข้างขนาดไม่เท่ากัน
การขยายพันธุ์ของยมหอม
การเพาะเมล็ด
เมล็ดที่เก็บควรเป็นเมล็ดที่ร่วงจากต้นแม่หรือเป็นเมล็ดแก่ที่ยังติดอยู่กับช่อดอก พร้อมนำมาตากแห้งประมาณ 2-3 วัน ก่อนนำมาเพาะในกระบะเพาะชำหรือเพาะในถุงพลาสติกโดยตรง ซึ่งควรใช้ดินร่วนผสมกับวัสดุอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ ขุ๋ยมะพร้าว แกลบ ขี้เถ้า เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับอินทรีย์วัตถุ 1:1 หรือ 2:1 และรดน้ำให้ชุ่มเป็นประจำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง
ธาตุอาหารหลักที่ยมหอมต้องการ
สามารถเติบโต และขึ้นได้ดีในทุกสภาพดิน เป็นพืชที่ต้องการความชื้นพอประมาณ แต่สามารถเจริญเติบโต และทนต่อภาวะแห้งแล้ง
ประโยชน์ของยมหอม
- ไม้ใช้สร้างบ้านเรือนและเฟอร์นิเจอร์
- ดอกเป็นสีย้อมให้สีเหลืองหรือแดงใช้ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม
สรรพคุณทางยาของยมหอม
- ยางที่ได้จากไม้ยมหอมใช้สำหรับสมานแผล รักษาแผล ห้ามเลือด
- ดอก และผลใช้ต้มแก้ไข้ และเป็นยาขับระดู
คุณค่าทางโภชนาการของยมหอม
การแปรรูปของยมหอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.forest.go.th, www.ecoforest.phsmun.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
ยางของยมหอม ใช้สมานแผลได้
ดอกให้สีย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม