ยอ ยอส้ม เนื้อไม้ทำอุปกรณ์ทอผ้า แก่นต้มน้ำดื่มเป็นยาสมุนไพร

ยอ ยอส้ม

ชื่ออื่นๆ : สลักป่า สลักหลวง (เหนือ) คุ คุย (พิษณุโลก) โคะ

ต้นกำเนิด : พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ

ชื่อสามัญ : ยอป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของยอ ยอส้ม

ไม้ต้นผลัดใบตามก้านและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มลำต้นมักคดงอใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากใบรูปไข่กลับหรือรูปไข่แกมขอลขนานปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลมโคนใบคอดและสอบขอบใบเป็นคลื่นผิวใบด้านบนมีขนสากประปรายด้านล่างมีขนนุ่มหนาดอกช่อแบบกระจุกแน่นออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบดอกสีขาวมีกลิ่นหอมผลเป็นผลรวมสีเขียวทรงบิดเบี้ยวหรือกลมผิวนอกผลเป็นปุ่มมีขนเนื้อเยื่อข้างในสีขาวมีน้ำมาก

ใบยอ
ใบยอมีมนหรือแหลม ฐานใบแหลมหรือเบี้ยว

การขยายพันธุ์ของยอ ยอส้ม

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่ยอ ยอส้มต้องการ

ประโยชน์ของยอ ยอส้ม

เนื้อไม้ทำอุปกรณ์ทอผ้าเป็นสมุนไพรแก่นต้มน้ำดื่มเป็นยาใบเป็นไม้มงคลปักไว้หน้าเล้า(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชนท้องถิ่น)
สมุนไพร,ที่อยู่อาศัย,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย

ผลยอ
ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ

สรรพคุณทางยาของยอ ยอส้ม

ยอป่าถือว่าเป็นไม้มงคลของคนอีสาน ในการนำข้าวขึ้นยุ้งจะต้องตัดเอากิ่งของยอป่ามาค้ำยุ้งไว้ก่อนนำข้าวขึ้นยุ้ง เพื่อเป็นศิริมงคล มีความหมายว่าให้ข้าวเพิ่มพูน ในทางสมุนไพรใช้แก่นต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด ขับลม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน เหมาะที่จะปลูกตามบ้านเป็นไม้หอมที่ดีอีกชนิดหนึ่ง
บริเวณที่พบ
Deciduous forest

คุณค่าทางโภชนาการของยอ ยอส้ม

การแปรรูปของยอ ยอส้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9288&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment