ยางพารา ไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลําต้นตั้งตรง

ยางพารา

ชื่ออื่นๆ : ยางพารา

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Para rubber

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hevea brasiliensis L.

ชื่อวงศ์ : Family Euphorbiaceae

ลักษณะของยางพารา

ต้น เป็นระบบรากแก้ว Tap root system เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลําต้นตั้งตรง ความสูงลําต้น 30-40 เมตร ชั้นนอกสุดเป็นเปลือกแข็งเรียกว่า hard bark และ มีstone cell และท่อนํายาง(Latex vessel) ชั้นในสุดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลําต้นตั้งตรงเปลือกอ่อน และมีท่อนํายางเป็นระเบียบ จากเปลือกเข้าไปถึงกลางลําต้นเป็นท่อลําเลียง vescula cambium เนื้อไม้ และแกนกลางลําต้น ตามลําดับ เปลือกลําต้น หนาประมาณ 10-11 มม. ท่อนํายางจะอยู่ที่ส่วนเปลือกเวียนขึ้นจากซ้ายไปชวาจากแนวดิ่ง 30-35องศา หากจะกรีดต้องกรีดจากซ้ายไปขวาเพื่อให้ได้นํายางมากที่สุด

ใบ มีใบย่อยสามใบ และมีตาเหนือรอยแผลที่ใบร่วงสองชนิดคือ ตาข้าง ช่วยในการแตกกิ่งและใบ ตาดอก ตาที่เจริญเป็นดอก

ดอก ช่อดอกของยางพาราจะมีช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน เรียกว่า Monoecious plant และช่อดอกเป็นแบบ panicle เช่นเดียวกันกับข้าวโพด ก้านดอกสั้น

ผล ผลมี เป็นแบบแคปซูล และมี 3 carpels

ระบบกรีด ที่นิยมมากที่สุดคือ ระบบกรีดครึ่งลําต้น สองวันเว้นวัน 44.4%
มักกรีดยางในช่วง 24.00-4.00 น. มากที่สุด

ยางพารามีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 5 ของสินค้าส่งออกของไทย ทํารายได้จากการส่งออกในปี 48 272,736 ล้านบาท มีความสําคัญต่อประเทศมากและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึนอีก ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางมากถึง 13 ล้านไร่ในไทย และปลูกอย่างแพร่หลายทุกภาค และไทยส่งออกยางพาราไปที่จีนมากที่สุด ในปีสี่แปด รองลงมาคือญี่ปุ่น มาเล อเมริกา เกาหลีใต้

ยางพารา
ยางพารา เปลือกลําต้น หนา ท่อนํายางจะอยู่ที่ส่วนเปลือก

การขยายพันธุ์ของยางพารา

ใช้เมล็ด
การปลูก
ปลูกในพื้นที่ราบหรือมีเนินเล็กน้อย หน้าดินต้องลึกไม่ตํากว่า 1 เมตร PH.4.5-5.0 ความสูงของพื้นที่ไม่เกิด 200 เมตรจากระดับนําทะเล หากความสูงมากเกินไปต้นยางจะเจริญเติบโตช้าผิดปกติ อุญหภูมิต้อง 26-30 องศาเซลเซียส และปริมาณฝนไม่ตํากว่า 2000-2500 ต่อปี และไม่ชอบลมพัดจัด
การขุดหลุมปลูกมีระยะ 50-50-50 กว้าง ยาว ลึก ใช้ต้นยางชําถุงจากต้นยางพันธุ์ดี มีอายุให้ผลผลิต 6-7 ปี

ธาตุอาหารหลักที่ยางพาราต้องการ

ประโยชน์ของยางพารา

ในขั้นต้นยางพาราที่กรีดได้มักจะถูกนำไปแปรรูปเบื้องต้นซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ยางแห้ง (ย่างแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม)
  • ยางน้ำ (น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์) ก่อนจะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไปซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ยางสำหรับประกอบยานพาหนะ ยางยืดและยางรัดของ ถุงมือยางทางการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา สายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของยางพารา

คุณค่าทางโภชนาการของยางพารา

การแปรรูปของยางพารา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10297&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment