ยางอินเดีย
ชื่ออื่นๆ : ยางลบ (ภาคกลาง) ลุง (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดียและเอเชียใต้
ชื่อสามัญ : Decora tree, Indian rubber tree, Rubber plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus elastica Roxb. Ex Hornem
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะของยางอินเดีย
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 – 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอด ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม มีรากอากาศห้อยระย้า ใบอ่อนมีหูใบสีชมพู หรือสีแดง รูปร่างแคบยาวคล้ายกรวยหุ้ม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4 – 8 เซนติเมตร ยาว 10 – 12 เซนติเมตร โคนสอบเรียว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงเป็นมัน ส้นกลางใบ และก้านใบของใบอ่อนสีแดง
ดอก ดอกแยกเพศ มีขนาดเล็ก จำนวนมาก ติดอยู่ภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างคล้ายผล
ผล ผลมีเนื้อ รูปร่างกลมรี หรือขอบขนาน กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1 – 5 เซนติเมตร ผลสุกมีสีเหลือง
การขยายพันธุ์ของยางอินเดีย
ปักชำและการตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ยางอินเดียต้องการ
ประโยชน์ของยางอินเดีย
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ น้ำยางใช้ทำยาง ใบใช้เป็นส่วนประกอบในการทำพวงหรีด
สรรพคุณทางยาของยางอินเดีย
คุณค่าทางโภชนาการของยางอินเดีย
การแปรรูปของยางอินเดีย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9585&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com