ยี่เข่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นแนวรั้วเขตริมทาง มีสรรพคุณทางยา

ยี่เข่ง

ชื่ออื่นๆ : คำฮ่อ (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : เขตอบอุ่นและเขตร้อนในทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : Crape Flower, Common Crape Myrtle, Indian lilac, Chinese Crape Myrtle

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia indica L.

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ลักษณะของยี่เข่ง

ต้น  เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆต้น ผิวลำต้นสีเทาหรือเกือบขาว เรียบ ลอกได้เป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านอ่อน มีปีกแคบ ๆ จึงทำให้ดูเหมือนเป็นสี่เหลี่ยม

ใบ  ใบเรียงเกือบตรงข้ามหรือตรงข้าม ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 2.0 – 3.5 ซม. ยาว 4 – 5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ ด้านท้องใบตรงเส้นกลางใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมอยู่เล็กน้อย ก้านใบเล็กมาก

ดอก  ดอกช่อออกอยู่ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกมี 6 กลีบ มีหลายสี เช่น ขาว ชมพู แดง และม่วง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. กลีบดอกเป็นคลื่นดูคล้ายย่น กลีบดอกบาง โคนกลีบดอกเรียวเป็นก้านเล็กๆ มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมากอยู่กลางดอก

ผล  เป็นรูปทรงกลม กว้าง 8 – 11 มม. ยาว 9 – 13 มม. ผลแก่แข็ง ภายในมีเมล็ดเล็กจำนวนมาก เมื่อแก่แตกตามขวาง เมล็ดมีปีก

ต้นยี่เข่ง
ต้นยี่เข่ง ไม้พุ่มผลัดใบขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น

การขยายพันธุ์ของยี่เข่ง

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ยี่เข่งต้องการ

ประโยชน์ของยี่เข่ง

นิยมปลูกต้นยี่เข่งไว้เป็นไม้ประดับในบ้านหรือในสวน หรือจะปลูกเป็นแนวรั้วเขตริมทาง

สรรพคุณทางยาของยี่เข่ง

ใบและดอก ใช้ตำพอกรักษาแผล แก้ผดผื่น แก้กลากเกลื้อน
เปลือกของต้น ใช้เป็นยาลดไข้
ราก ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก  แก้ปวดฟันราก ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก

ดอกยี่เข่ง
ดอกยี่เข่ง ดอกสีชมพู เกสรสีเหลืองกลางดอก กลีบดอกบาง

คุณค่าทางโภชนาการของยี่เข่ง

การแปรรูปของยี่เข่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11362&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment