ยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
ชื่ออื่นๆ : ยูคะลิปต์, ยูคา, โกฐจุฬารส, น้ำมันเขียว, มันเขียว, ยูคาลิป (ไทย) อันเยี๊ยะ, หนานอัน (จีนกลาง)
ต้นกำเนิด : ทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย
ชื่อสามัญ : Eucalyptus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucalyptus globulus Labill.
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ลักษณะของยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
ต้น ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มลำต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น
เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี
ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็งเมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก
ส่วนที่ใช้ : ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด
การขยายพันธุ์ของยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ยูคาลิปตัส โกฐจุฬารสต้องการ
ประโยชน์ของยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
- เนื้อไม้ลำต้นนำมาทำกระดาษ
- ใบสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันได้ ทำน้ำยาหอมระเหยไอระเหยแก้หวัด
- ลำต้นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง เสาเข็ม ทำกระดาษสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้สอย เผาถ่าน
สรรพคุณทางยาของยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
ส่วนที่ใช้ : ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด
สรรพคุณ : เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการข้ออักเสบ ไล่ หรือ ฆ่ายุง แมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้
เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ
ใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิลิตร (8 หยด) รับประทาน หรือทำยาอม
ไล่หรือฆ่ายุง แมลง
ใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้ กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่ยุงและแมลง
ข้อควรระวัง : อย่าใช้เกินขนาด จะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร เมื่อใช้เป็นยาภายใน
คุณค่าทางโภชนาการของยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
การแปรรูปของยูคาลิปตัส โกฐจุฬารส
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11654&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments