โกฐจุฬาลัมพา
ชื่ออื่นๆ : พิษนาศน์, พิษนาด (ราชบุรี), โกฐจุฬาลำพา (กรุงเทพฯ), ตอน่า (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เหี่ย เหี่ยเฮี๊ยะ (จีนแต้จิ๋ว), ไอ้เย่ ไอ้ อ้าย (จีนกลาง) เป็นต้น
ต้นกำเนิด : เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปยุโรป ทวีเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ พบเป็นวัชพืชอยู่ตามที่โล่งแจ้ง ตามไร่ สองข้างทาง นาข้าว.
ชื่อสามัญ : โกฐจุฬาลัมพา, โกษฐ์จุฬาลัมพา, Sweet wormwood herb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia annua L.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ลักษณะของโกฐจุฬาลัมพา
ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นสูง 0.3-2 ม. แตกกิ่งก้านมาก มีรากที่โคนต้นติดผิวดิน มีเหง้าใต้ดิน กลิ่นหอมมาก
ใบ ออกเรียงสลับกัน กว้าง 1.5-9 ซม. ยาว 2.5-10.5 ซม. จักเป็นพูรูปไข่ ปลายแหลม ขอบพูเรียบ หรือจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ 2-3 ซี่ ใบบน ๆ ขอบเรียบ รูปหอก ปลายแหลม
ดอก เป็นกระจุกเล็ก ยาว 3.5-5 มม. ออกเป็นช่อที่ปลายยอด หรือ ตามง่ามใบ ริ้วประดับรูปไข่ หรือ ขอบขนาน ปลายมน หรือ กลม มีขนบาง ๆ พันกันยุ่ง กลีบดอกมีต่อม ดอกวงนอกยาวประมาณ 1 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายจักเป็นแฉกมี 2-3 แฉก ดอกวงในยาวประมาณ 2 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายจักเป็นแฉกมี 4-5 แฉก อับเรณูโคนนม ปลายแหลมเกสรเมียมี 2 แฉก โผล่พ้นกลีบดอก
เมล็ด รูปขอบขนาน หรือ รูปไข่ เกลี้ยง.
การขยายพันธุ์ของโกฐจุฬาลัมพา
การปักชํา
การปลูก โกฐจุฬาลัมพาจะปักชําโดยการตัดต้นยาว 8 – 10 นิ้ว แล้วปักในถุงเพาะชําที่ผสมดินกับขี้เถ้าแกลบเอาไว้ในเรือนเพาะชํารดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอประมาณ 10 – 20 วัน จะงอกรากเป็นต้นใหม่ต่อไป ปลูกได้ทุกฤดูนิยมปลูกฤดูหนาวและต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
การใส่ปุ๋ย เมื่อปลูกได้ 30 วันก็ควรพรวนดินและใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 ต้นพร้อมกําจัดวัชพืชควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์สลับกันไปเดือนละ 1 – 2 ครั้ง
ธาตุอาหารหลักที่โกฐจุฬาลัมพาต้องการ
ประโยชน์ของโกฐจุฬาลัมพา
ใบใส่แกง รับประทานกับขนมจีน
สรรพคุณทางยาของโกฐจุฬาลัมพา
- ต้น แก้ไอ แก้ไข้ที่มีเสมหะ แก้หืด แก้ไข้เจรียง ขับลม แก้ท้องขึ้นจุกเสียด แก้โรคบิดถ่ายเป็นเลือด
- ใบ เป็นยาขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ ยาถ่ายน้ำเหลืองเสีย ถ่ายพยาธิ แก้ท้องร่วง ไขข้ออักเสบ อาเจียน เป็นยาบำรุง ระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บำรุงมดลูก ระงับอาการปวดท้องและอาการเจ็บท้องคลอดบุตร ใช้ภายนอกเป็นยาพอกแก้ปวดศีรษะ รักษาบาดแผลเรื้อรัง ตำกับเกลือใส่น้ำเคี้ยวแก้อาการเคล็ดบวม ใช้สูบควันแก้โรคหืด ใบและช่อดอก แก้หืด อาหารไม่ย่อย ขับเสมหะ
ตําราสรรพคุณยาไทยว่าโกฐจุฬาลัมพามีสรรพคุณ แก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน-เป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง) แก้ไข้ ลดเสมหะแก้หืด แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ โกฐจุฬาลัมพาจัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง 5 (เบญจโกฐ) โกฐทั้ง 7 (สัตตโกฐ) และโกฐทั้ง 9 (เนาวโกฐ) ตํารายาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีมอโนกราฟโกฐจุฬาลัมพาโดยระบุข้อบ่งใช้ว่า ใช้แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อนแก้ไข้ต่ำๆ ที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรคและแก้ไข้จับสั่น
สารสำคัญ
โกฐจุฬาลัมพามีสารอนุพันธ์เซสควิเทอร์พีนแลกโทน (sesquiterpene lactones) หลายชนิดแต่ที่สําคัญคือชิงฮาวซู (qinghaosu) หรืออาร์เทแอนนูอิน (arteannuin) หรืออาร์เทมิซินิน (artemisinin) และพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์(flavonoids) อีกหลายชนิดเช่น คาสทิซิน (casticin) เซอร์ซิลินีออล (cirsilineol) คริโซพลีนอลดี (chrysoplenol-D คริโซพลีเนทิน (chrysoplenetin)
คุณค่าทางโภชนาการของโกฐจุฬาลัมพา
การแปรรูปของโกฐจุฬาลัมพา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11653&SystemType=BEDO
https://ittm.dtam.moph.go.th
https://www.flickr.com