ย่านงด ไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกจากเนื้อไม้ เป็นยาบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ

ย่านงด

ชื่ออื่นๆ : เครือเต่าไห้ (ลำปาง), ขมัน (จันทบุรี), อ้ายไร (กรุงเทพฯ), ชะไร ยาวี (สตูล), เถากะมัน ย่านมูรู (พัทลุง), กุระเปี๊ยะ (สงขลา), มะรุ (ปัตตานี), โร (พังงา), มือกอ (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้

ชื่อสามัญ : ย่านงด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Poikilospermum sp.

ชื่อวงศ์ : Urticaceae

ลักษณะของย่านงด

ต้น  เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีลักษณะกลมเรียบ มีสีน้ำตาลเข้ม จามข้อเถามีรากอากาศงอห้อยลงมา กิ่งอ่อนและลำต้นมีตุ่มระบายอากาศตามผิว เปลือกต้นเป็นสีเทาและมียางใส

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับไปตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีกว้าง ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-26 เซนติเมตร เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบและท้องใบเรียบ เส้นใบออกจากจุดฐาน 3 เส้น มีเส้นแขนงใบ 10-12 คู่ สามารถเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ก้านใบมีสีน้ำตาลอมแดง ยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้จะออกรวมกันเป็นช่อกลมหรือเป็นก้อนสีชมพูอมแดง ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะรวมกันเป็นช่อกลมเหมือนกัน แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า หรือมีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกย่อยจะอัดติดกันแน่นอยู่บนฐานดอก

ผลย่านง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลเป็นสีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อผลยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร

ย่านงด
ย่านงด ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบมีขนาดใหญ๋

เปลือกจากเนื้อไม้

การขยายพันธุ์ของย่านงด

ใช้ส่วนอื่นๆ/การขยายพันธุ์ทางธรรมชาติโดยเถา แหล่งอื่นๆ ที่สามารถพบได้ ตามต้นไม้ต่างๆในป่าชายเลน

ธาตุอาหารหลักที่ย่านงดต้องการ

ประโยชน์ของย่านงด

นำยอดอ่อนมาตำละเอียด ปิดปากแผล ห้ามเลือด

สรรพคุณทางยาของย่านงด

เปลือกจากเนื้อไม้ เป็นยาบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ  บำรุงครรภ์รักษาสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์

ดอกย่านงด
ดอกย่านงด ดอกสีชมพูอมแดง ออกเป็นช่อตามกิ่ง

คุณค่าทางโภชนาการของย่านงด

การแปรรูปของย่านงด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10804&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment