รสชาติมะม่วงแรด การปลูกมะม่วงแรด

มะม่วงแรด

ชื่ออื่นๆ : มะม่วงแรด

ชื่อสามัญ :  Mango

ต้นกำเนิด :  ประเทศกัมพูชาหรือประเทศเขมร 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE   

ลักษณะของมะม่วงแรด

ต้น  มะม่วงแรดเป็นมะม่วงพันธุ์เบาเจริญเติบโตเร็ว เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร

ใบ  ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปใบหอก ใบมีโคนกลมมน ปลายแหลม เนื้อใบหนาสีเขียวสด 

ต้นมะม่วงแรด
ต้นมะม่วงแรด ไม้ยืนต้นสูง รูปใบหอก ใบมีโคนกลมมน ปลายแหลม

ดอก  ดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม ให้ดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือกิ่งแก่ ออกดอกติดผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม

ผล  ผลกลมรี สีผิวตอนดิบจะเป็นสีเขียวอมเหลืองจางๆ สีอ่อนกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ เนื้อผลจะมีสีเขียวอมเหลือง กรอบ รสเปรี้ยว มีเสี้ยน ผลจะออกผลเป็นกระจุกละ 3-4 ผล ผลดิบจะมีรสเปรี้ยวจัดแต่เมื่อแก่จัดจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เป็นมะม่วงที่ให้ผลปีละครั้งตามฤดูกาล

ผลมะม่วงแรด
ผลมะม่วงแรด ผลดิบจะเป็นสีเขียวอมเหลืองจางๆ

 

ผลมะม่วงแรดสุก
ผลมะม่วงแรดสุก เนื้อผลจะมีสีเขียวอมเหลือง

การขยายพันธุ์มะม่วงแรด

การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่งและทาบกิ่งเสียบยอด

การปลูกมะม่วงแรด

  • ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากอากาศและดินมีความชุ่มชื้นดี และเป็นการสะดวกที่ไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก
  • หลุมปลูกควรขุดให้มีขนาดความกว้าง ยาว และลึก ไม่น้อยกว่า 30x30x30 ซม. หากดินในพื้นที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากด้วยแล้วต้องขุดหลุมปลูกให้มีขนาดใหญ่ และนำดินที่อุดมสมบูรณ์มาใส่เพื่อให้มะม่วงในระยะแรกเจริญเติบโตได้ดี
  • ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูกว่าต้องการเช่นไร ในที่นี้ขอแนะนำในระยะ 6×6 ม.
  • การปลูก ควรมีหลักไม้ปักกับดินแล้วผูกต้นเพื่อไม่ให้ลมโยกและทำที่บังแสงแดดให้ใน ระยะแรก รดน้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในปีแรกหากมะม่วงติดดอกให้ตัดออกเพื่อให้มะม่วงเจริญเติบโตทางทรงต้นให้สมบูรณ์ดีเสียก่อน

โดยทั่วไปมะม่วงจะออกดอกติดผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม และเก็บเกี่ยวในเดือน มีนาคม ถึง เมษายน (ยกเว้นพวกมะม่วงทะวาย)

การดูแลรักษามะม่วงแรด

เมื่อดอกแทงช่อ ดอกบาน รักษาช่อดอกมะม่วง ป้องกันเพลี้ยจั๊กจั่นและราดำดูดน้ำเลี้ยงทำลายช่อดอกมะม่วง

ประโยชน์ของมะม่วงแรด

  • ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อผลไป รับประทาน และซื้อกิ่งตอนไปปลูกอย่างแพร่หลาย 
  • เป็นมะม่วงที่ติดผลง่าย ติดผลดกตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้ติดผลนอกฤดูกาลเช่นมะม่วงสายพันธุ์อื่น จึงทำให้ผู้ปลูกเก็บผลขายมีผลขายได้ตลอดปี
  • รสชาติมะม่วงแรด ผลดิบหรือแก่จัด เนื้อผลจะแน่นละเอียด กรอบมัน หวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย มี 3 รสในผลเดียว ผลแก่จัดจะทานเป็นมะม่วงที่ทานเล่นได้ หอมติดมันอมเปรี้ยวนิดๆ ผลสุก ยังมีรสหวานรับประทานได้อร่อยเนื้อจะไม่เละ และไม่มีเสี่ยน
  • นิยมนำไปทานกับน้ำปลาหวาน พริกเกลือ กะปิหวาน กะปิโหว่ และนำไปทำส้มตำ ยำได้
  • มะม่วงพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่มีจุดเด่นชัดเจน แค่สังเกตเห็น”นอ”หรือส่วนแหลมที่ยื่นออกมาตรงผลมะม่วงก็รู้ได้เลยว่าเป็นมะม่วงแรดตัวจริง 
  • ในหนึ่งผลของมะม่วง ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย บำรุงหัวใจ ช่วยในการทำงานของระบบการย่อยอาหาร บำรุงสายตา เสริม/บำรุงผมและผิวลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิด และสามารถลดน้ำหนักได้ด้วยผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับสมดุลภายใน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ รวมไปถึงต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือด โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ช่วยเยียวยาและรักษาโรคเบาหวาน ส่วนไฟเบอร์จากมะม่วงยังเป็นตัวช่วยสำหรับการย่อยอาหารและเผาผลาญพลังงาน แก้อาการท้องอืด
มะม่วงแรดน้ำปลาหวาน
นิยมนำมะม่วงแรดดิบมาทานกับน้ำปลาหวาน

สรรพคุณทางยาของมะม่วงแรด

  • ในตำราโบราณระบุว่า ใช้ใบมะม่วงประมาณ 15 ใบ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาด 1 ถ้วย โดยใช้ไฟอ่อนๆ นาน 1 ชั่วโมง ถ้าน้ำแห้งก็เติมเรื่อยๆ เมื่อเสร็จแล้วนำมาตั้งทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน พอเช้าก็นำมากรองเอาแต่น้ำดื่มติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
  • ใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทานแก้ตานขโมยในเด็ก ทำให้ไข้ลด รักษาอาการเยื่อปากอักเสบจมูกอักเสบ
  • เปลือกผิวของผลมะม่วงดิบนำมาคั่วรับประทานกับน้ำตาลแก้ปวดประจำเดือนสตรีได้ดี
  • การนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด 
  • นำใบมะม่วงสด 15 กรัม มาต้มใช้ล้างบาดแผลภายนอกได้ และ 5) ใช้เป็นยาสมานแผลสดด้วยการใช้ใบมะม่วงสดล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำและพอกบริเวณที่เป็นแผล

การแปรรูปของมะม่วงแรด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา, http://blog.arda.or.th/, www.gotoknow.org, www.mhesi.go.th
ภาพประกอบ : FB กล้วยหอมทอง ไร่สง่า หนองบัวแดง ชัยภูมิ

3 Comments

Add a Comment