รองเท้านารี
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไม้รองเท้านารี
ต้นกำเนิด : รัฐอัสสัม สาธารณรัฐอินเดีย จนถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน
ชื่อสามัญ : รองเท้านารีอินทนนท์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะของรองเท้านารี
ต้น พุ่มต้นกว้าง ประมาณ 25-30 ซม. ใบกว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 30-40 ซม.
ใบ ใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบบริเวณโคนกาบใบ มีจุดประสีม่วง แตกหน่อได้ดี มักเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่
ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดประมาณ 10-12 ซม. ก้านดอกตั้งตรงยาว 10-12 ซม. กลีบดอกหนาเป็นมันเงา พื้นดอกสี เหลืองปนน้ำตาล กลีบบนบริเวณขอบมีสีเหลืองหรือขาว โคนกลีบบนสีน้ำตาลเข้ม กลีบในมีเส้นสีน้ำตาลเข้มแบ่งกึ่งกลางตามความยาวกลีบ กระเป๋าสีน้ำตาลเป็นมันเงา มีเส้นร่างแหสีน้ำตาล ฤดูการออกดอกในช่วง มกราคม – มีนาคม
การขยายพันธุ์ของรองเท้านารี
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ หรือ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
พบในทำเลที่เป็นป่าดิบภูเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่หนา โดยขึ้นอยู่สูงประมาณ 1200-1500 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นรองเท้านารีชนิดอิงอาศัย (Epiphytic) โดยพบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลักษณะเปลือกหนา มีการผุพังของเปลือกไม้ง่าย ปกคลุมด้วย มอสส์ เฟิร์น ตะไคร่น้ำ อุ้มความชื้นได้ดี โดยหยั่งรากไปตามเปลือกไม้ ตามดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ และดอยเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ดอยแม่อูคอจังหวัดแม่ฮ่องสอน และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณภูหลวงจังหวัดเลย พม่า อินเดีย ตะวันตกเฉียงใต้ของจี
ธาตุอาหารหลักที่รองเท้านารีต้องการ
–
ประโยชน์ของรองเท้านารี
ปลูกเพื่อดูเล่น เป็นการอนุรักษ์รองเท้านารีของไทย
สรรพคุณทางยาของรองเท้านารี
คุณค่าทางโภชนาการของรองเท้านารี
–
การแปรรูปของรองเท้านารี
–
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10497&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com