ระกำ ส้มกำ ผลไม้รสเปรี้ยว ก้านมีหนาม ใบคล้ายต้นปาล์ม นิยมนำมาทำน้ำพริก
ชื่ออื่นๆ : สละ, กำ, ระกำกอก, ส้มกำ, มลายูเรียก สะละ, สะลัก
ต้นกำเนิด : ประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และในประเทศไทย
ชื่อสามัญ : ระกำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca rumphii, S. edulis
ชื่อวงศ์ : PALMAE
ชื่อภาษาอังกฤษ : Salacca rumphii Wall
ลักษณะของระกำ
ระกำ เป็นพรรณไม้ปาล์มชนิดหนึ่ง ที่แตกหน่อออกมาเป็นกอ มีลำต้นอยู่ใต้ดิน นอกจากต้นทีแก่ ๆ เท่านั้นจะมีลำต้นสูงขึ้นมาเหนือผิวดินและโดยทั่วไปแล้วจะสูงไม่เกิน 2 เมตรตามลำต้น และกิ่งก้านจะเต็มไปด้วยหนามยาว และแข็งปกคลุมจะแตกใบออกเป็นกอใหญ่ เป็นสีเขียวแก่ ใบระกำ จะยาวมีลักษณะคล้ายกับใบขนนก ก้านใบจะมีแต่หนาม ใบนั้นจะออกเป็นช่อ ๆ ใบย่อยจะเรียงกันตามก้านช่อ ซึ่งใบย่อยนี้จะมีความยาวประมาณ 2 ฟุต และกว้างประมาณ 2 นิ้ว มีใบดกมาก จัดเป็นพันธุ์ไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือเพศผู้กับเพศเมีย จะไม่อยู่ในดอกเดียวกัน แตกดอกตรงระหว่างโคนก้านใบ เมื่อดอกร่วงโรย จะกลายเป็นผลรวมกันเป็นกระจุก แบบทะลาย ลักษณะของผลกลมโต ตรงปลายผลแหลม เปลือกผลจะเป็นเกล็ด ผลทีอ่อนจะมีสีน้ำตาล พอผลแก่หรือสุกก็จะเป็นสีแดงสด ใช้กินได้ ผลจะมีรสเปรี้ยวบ้าง หวานบ้างแล้วแต่พรรณ ระกำให้ผลในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของระกำ
ระกำสามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ของระกำ
ประโยชน์ ผลดิบของระกำ ปรุงกับน้ำพริก เคี้ยวกินผ่อนคลายพิษเมาสุรา ผลสุก กินได้สดๆ หรีอ ดอง ผสมน้ำหวานได้กลิ่นสละ เนื้อในของต้นใช้ทำจุกขวด ของเล่นเด็ก เช่น งูไม้ระกำ เป็นเครื่องประกอบการทำดอกไม้เพลิงและปลูกเป็นรั้วบ้าน ใช้เป็นเครื่องประกอบดอกไม้เพลิง
สรรพคุณทางยาของระกำ
ใช้แก่นกินเป็นยารักษาอาการไอ และขับเสมหะ แก่น จะมีรสขมหวาน ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาเลือด รักษากำเดา และรักษาอาการไข้สำประชวร ราก กาบ ช่อดอก ต้มกินแก้ไข้ระดู รากต้มกินแก้ปวดหลัง ปวดเอว
คุณค่าทางโภชนาการของระกำ
- ในเนื้อระกำจะมีกรดอินทรีย์ น้ำตาล วิตามินซีเล็กน้อย ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่นๆ
การแปรรูปของระกำ
ระกำ นอกจากจะจำหน่ายในลักษณะผลสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณค่าของผลผลิต เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา และเพื่อสะดวกในการปรุงรส เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และเพื่อให้มีโอกาสขยายตลาดการจำหน่าย ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วย เช่น การแปรรูปเป็นน้ำระกำ น้ำสละ ระกำแช่อิ่ม และระกำผง
References : www.bedo.or.th
ภาพประกอบ : www.biogang.net
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
2 Comments