ระฆังแก้ว ไม้เถามีหัวใต้ดิน ใบรูปหัวใจ

ระฆังแก้ว

ชื่ออื่นๆ : พวงชวา, ระฆังแก้ว (ทั่วไป)

ต้นกำเนิด : อินเดีย ภูฏาน เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม ชวา ในไทยส่วนมากพบทางภาคเหนือ ทางภาคตะวันออกพบที่ชัยภูมิ ขึ้นตามชายป่าดิบเขาหรือป่าสน ความสูง 1000–2000 เมตร

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Campanumoea javanica Blume ชื่อพ้อง Codonopsis javanica (Blume) Hook.f. & Thomson

ชื่อวงศ์ : Campanulaceae

ลักษณะของระฆังแก้ว

ต้น :ไม้เถา มีหัวใต้ดิน ลำต้นเกลี้ยง

ใบ : ใบเรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปไข่หรือรูปหัวใจ ยาว 2.5–8 ซม. โคนเว้าตื้น ขอบเรียบหรือจักฟันเลื่อยห่าง ๆ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนประปรายด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5–6 ซม.

ระฆังแก้ว
ระฆังแก้ว ไม้เถา มีหัวใต้ดิน ลำต้นเกลี้ยง

ดอก : ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 1–5 ซม. กลีบเลี้ยงอยู่ใต้รังไข่ ไม่เชื่อมติดรังไข่ ติดทน มี 5 กลีบ แฉกลึกเกือบจรดโคน กลีบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 1–2 ซม. ดอกสีขาวอมเขียว ด้านในมีลายสีม่วงอ่อน รูประฆังคว่ำ ยาว 1.5–3.5 ซม. ปลายแยก 5 แฉก ลึกประมาณกึ่งหนึ่ง เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย ติดใต้รังไข่ ไม่ยื่นพ้นหลอดกลีบดอก รังไข่ใต้กลีบดอก มี 5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. ยอดเกสรจัก 3 พู ออกดอกเดือน สิงหาคม-ตุลาคม

ผล : ผลสด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 ซม. ผลแก่สีม่วง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

ดอกระฆังแก้ว
ดอกระฆังแก้ว ดอกสีขาวอมเขียว ด้านในมีลายสีม่วงอ่อน รูประฆังคว่ำ

การขยายพันธุ์ของระฆังแก้ว

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ระฆังแก้วต้องการ

ประโยชน์ของระฆังแก้ว

เป็นพืชหายาก

สรรพคุณทางยาของระฆังแก้ว

ในจีนใช้เป็นยา บำรุงม้าม แก้ไอ ลดการการอ่อนเพลีย ท้องร่วง ตกขาว ภาวะขาดน้ำนมในแม่ให้นมบุตร ใช้รากต้มกับน้ำ ดื่มบำรุงม้าม

คุณค่าทางโภชนาการของระฆังแก้ว

การแปรรูปของระฆังแก้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9780&SystemType=BEDO
https://libproject.hkbu.edu.hk
https://www.flickr.com

Add a Comment