รัก,รักใหญ่
ชื่ออื่นๆ : รัก (กลาง) ฮักหลวง (เหนือ) น้ำเกลี้ยง (สุรินทร์) มะเรียะ, รักเทศ (เชียงใหม่) รัก, ชู้, สู่ (กาญจนบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : รักใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melanorrhoea usitata wall.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของรัก,รักใหญ่
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมสีเขียวเข้ม ลำต้นเหลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทาหรือดำปนเทา แตกเป็นร่องและล่อนเป็นสะเก็ดทั่วไป มียางสีดำไหลออกมาตามรอยแตก เปลือกในสีแดง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ มนหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-36 ซม. ปลายใบมน โคนใบสอบมน หลังใบมีขนสีน้ำตาลปนเทาประปราย ท้องใบมีขนหนาแน่น เมื่อแก่จะหลุดร่วงหมด ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบหนา เส้นกลางใบเป็นร่องทางหลังใบ เส้นแขนงใบแข็งตรง ข้างละ 16-30 เส้น แต่ละเส้นเชื่อมติดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบแบบยาว 0.25-1.5 ซม.
ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีขนหนาแน่น ช่อดอกยาวประมาณ 30 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อนหรือขาว เกสรเพศผู้มีประมาณ 30 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 มม. รังไข่กลม มีขนปกคลุมประปราย
ผล ผลแห้งแบบมีปีก ทรงกลมแข็ง ขนาด 1-2 ซม. มีปีกสีแดงเรื่อ ๆ รูปขอบขนาน 5 ปีก กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 6-8 ซม. ติดเป็นวงแนวระนาบระหว่างโคนปีกกับผลมีก้านเชื่อมยาว 1.5 ซม. เมล็ดกลม
การขยายพันธุ์ของรัก,รักใหญ่
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่รัก,รักใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของรัก,รักใหญ่
- ด้านเนื้อไม้แปรรูป เนื้อไม้สีแดงเข้ม มีริ้วสีแก่แทรก เป็นมันเลื่อมแต่เสี้ยนสน เนื้อค่อนข้างละเอียดเหนียว แข็งแรง ทนทาน ไสกบตบแต่งยาก ชักเงาได้ดี ใช้ทำบัวประกบฝาเครื่องเรือน เครื่องกลึง เครื่องมื่อเกษตรกรรม เสา หนไม้อัดกระสวย และรางปืน
- ยางไม้ (รัก) ใช้ทาไม้ เครื่องเขิน เพื่อลงลอดลาย ทากระดาษเเละผ้ากันน้ำซึม
การออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อผิวหนัง
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง สารพิษ : Phenol
อาการ : บวมแดง พองเป็นตุ่มน้ำใส อาจลุกลามรุนแรงเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง
วิธีการรักษา :
- ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด
- ทาด้วยครีมสเตียรอยด์ เช่น ครีม prednisolone 5% หรือ triamcinolone acetonide 0.025%-0.1% ทาวันละ 1-2 ครั้ง
- สำหรับอาการแพ้ปานกลางหรือรุนแรง จำเป็นต้องรับประทานเพร็ดนิโซโลน ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า หรือ เช้า-เย็น อาการมักดีขึ้นภายใน 6-12 ชั่วโมง
- อาการแพ้รุนแรง อาจต้องรับประทานยานานถึง 14 วัน โดยลดขนาดลงมา ทุกวัน จนหยุด ภายใน 2 อาทิตย์
สรรพคุณทางยาของรัก,รักใหญ่
- ราก ใช้เป็นยาพอก แก้พยาธิไส้ เเก้ไอ ขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง แก้ริดสีดวง แก้โรคคัน เป็นยาถ่ายอย่างแรง กัดเนื้อสด อุดฟันที่เป็นรู แก้ปวด รักษาโรคตับ
- ต้น เป็นยาถ่ายอย่างแรง กัดเนื้อสด แก้โรคผิวหนัง แก้ริดสีดวง แก้โรคคัน
- แก่นต้น เป็นยาถ่ายอย่างแรง กัดทำลาย
- เปลือกต้น บำรุงกำลัง แก้กามโรค แก้บิด แก้ท้องร่วง ทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ แก้ปวดข้อเรื้อรัง แก้ไข้เรื้อรัง
- เปลือกราก แก้โรคผิวหนัง แก้พยาธิลำไส้ แก้โรคท้องมาน แก้โรคไอ อุดฟันที่เป็นรู แก้ปวด
- ใบ แก้ส้นเท้าแตก
- เมล็ด แก้ปากคอเปื่อย แก้โรคฟัน แก้คุดทะราด แก้ริดสีดวง แก้ไส้เลื่อนในกระเพาะปัสสาวะ แก้ปวดไส้เลื่อนช่วยย่อยอาหาร
- ยาง เป็นยาถ่ายอย่างแรง แก้พยาธิ แก้มะเร็ง ขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวง แก้โรคคัน แก้ผื่นคัน เป็นเม็ดตามตัว
คุณค่าทางโภชนาการของรัก,รักใหญ่
การแปรรูปของรัก,รักใหญ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9576&SystemType=BEDO
www.medplant.mahidol.ac.th
www.flickr.com