รังโทน กิ่งอ่อน ใบอ่อนและช่อดอก มีขนหนาแน่น ลำต้นมีหนาม

รังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

ชื่ออื่นๆ : รังโทน (นครราชสีมา) เปาหนาม ฮังหนาม

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เต็งหนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia retusa (L.) A. Juss.

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของรังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

-เต็งหนามเป็นไม้ต้น สูงถึง 10 ม. กิ่งอ่อน ใบอ่อนและช่อดอก มีขนหนาแน่น ลำต้นมีหนาม หูใบเล็กรูปไข่
-ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี กว้าง 3–12 ซม. ยาว 6–25 ซม. ปลายใบมน หรือแหลม โคนใบกลม หรือมน ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบเด่นชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.7–1.2 ซม.
-ดอก มีขนาด 0.4–0.5 ซม. แยกเพศ ดอกเพศผู้สีเหลือง ดอกเพศเมียสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ และตามกิ่งที่ไม่มีใบ ผล ค่อนข้างกลม บางครั้งมี 2 พู ขนาด 0.5–0.9 ซม. ฉ่ำน้ำ สีฟ้าอมม่วง เมล็ดค่อนข้างกลม ขนาด 0.4–0.5 ซม. สีน้ำตาลแดง

เต็งหนาม
เต็งหนาม ลำต้นสูง มีหนามแข็งขนาดใหญ่ ใบรูปวงรี

การขยายพันธุ์ของรังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาเพาะ

ธาตุอาหารหลักที่รังโทน , เปาหนาม,ฮังหนามต้องการ

ประโยชน์ของรังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

– ผลกินได้ มีรสฝาด เป็นอาหารนก ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เปลือกมีสารแทนนินใช้ในทางเภสัชกรรมเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านไวรัสบางชนิด เนื้อไม้มีสีแดงขุ่นใช้ในการก่อสร้าง เช่น ทำเสา และเครื่องมือเครื่องใช้ทางอุตสาหกรรม

สรรพคุณทางยาของรังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

คุณค่าทางโภชนาการของรังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

การแปรรูปของรังโทน , เปาหนาม,ฮังหนาม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9566&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment