ราชดัด
ชื่ออื่นๆ : ดีคน , บีคน (อีสาน) มะดีควาย, มะขี้เหา, เท้ายายม่อมน้อย, กาจับหลัก (เชียงใหม่) พญาดาบหัก (ตราด) สอยดาว (จันทบุรี) กะดัด, ฉะดัด (ใต้) มะลาคา (ปัตตานี) เพี้ยฟาน (โคราช) โค้วเซียมจี้ (จีน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ราชดัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brucea amarissima Desv
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ลักษณะของราชดัด
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม
ใบ : เป็นใบประกอบ ใบย่อยออกแบบขนนก ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะเป็นสีเขียวเข้ม
ดอก : จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ เป็นสีแดง มักจะออกตามง่ามกิ่งส่วนดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย จะอยู่คนละดอกในช่อดอกเดียวกัน หรืออาจเป็นช่อดอกตัวผู้ทั้งต้น
ผล : จะเป็นรูปไข่ ถ้าผลยังไม่แก่จัดจะเป็นสีเขียว ถ้าแก่จะเป็นสีดำ เรียบไม่เป็นขรุขระ และมีลักษณะคล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง ส่วนเมล็ดในจะเป็นสีขาว และมีรสขมจัด


การขยายพันธุ์ของราชดัด
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่ราชดัดต้องการ
ประโยชน์ของราชดัด
ทั้งต้น เมล็ด เมล็ดในของผลแก่ ราก
ผล และเมล็ด ใช้เป็นยา

สรรพคุณทางยาของราชดัด
ทั้งต้น เมล็ด-แก้บิด ใบ-ตำพอกรักษาขี้กลาก ฝี
เมล็ดในของผลแก่-ใช้เป็นยาขับพยาธิ แก้บิดบำรุงธาตุ แก้ไข้มาลาเลีย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการสกัดสารแสดงฤทธิ์ R-PAS ฆ่าเชื้อบิดมีตัว(บิดอมิบิค)ได้ ราก-รสขม ต้มดื่ม แก้ไข้ แก้บิดแก้เสียดท้อง แก้ปวดกล้ามเนื้อ เคี้ยวอม แก้ไอ
ผล ใช้รักษาอาการปวดท้อง เมล็ด ใช้เป็นยาบำบัดโรคเกี่ยวกับลำไส้ ใช้เตรียมเป็นยาคุมธาตุ บำรุงธาตุ รักษาโรคบิดไม่มีตัว รักษาโรคพยาธิ หรือใช้ทั้งต้นและเมล็ด เป็นยารักษาโรคไข้มาเลเรีย
คุณค่าทางโภชนาการของราชดัด
ในเมล็ดนั้น พบว่ามีสารอัลคาลอยด์ Brucamarine และ 20% ของ fatty
การแปรรูปของราชดัด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9197&SystemType=BEDO
https://saki.siit.tu.ac.th/kindml/mdprojects/MDweb/detail.php?wid=3313
https://www.flickr.com