ราชพฤกษ์
ชื่ออื่นๆ : คูณ ล้มแล้ง
ต้นกำเนิด : เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดียว ศรีลังกา พม่าและไทย นอกจากนี้ดอกราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยอีกด้วย
ชื่อสามัญ : Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-Pine Tree, Purging Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula Linn
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะของราชพฤกษ์
ลักษณะทั่วไป ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง ๑๕ เมตร เปลือกต้นสีเทา ผิวเรียบ ใบ เป็นใบประกอบ ที่ปลายก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบางหูใบมีขนาดเล็กและร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อห้อยระย้าจากซอกใบ ช่อดอกมีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ มีแผ่นบางๆ ยาว ๑.๑๕ ซม.กลีบดอกมี ๖ กลีบ สีเหลืองสดปลายมนเห็นเส้นลายชัดเจน ผล เป็นฝักทรงกระบอกเปลือกนอกบางและแข็งเหมือนไม้ เรียบไม่มีขนยาว ๒๐ – ๖๐ ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ – ๒ ซม. ภายในแบ่งเป็นช่องๆ มีเมล็ดรูปรีแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของราชพฤกษ์
ใช้เมล็ด/การปลูก เพาะเมล็ดให้ได้ต้นกล้าสูง ๓๐ – ๕๐ ซม. ขุดหลุมกว้างและลึก ๕๐ – ๗๐ ซม. ตากดินไว้ ๑๐- ๑๕ วันใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมนำต้นกล้าลงปลูก กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกง่าย ไม่ช้าก็จะตั้งตัวได้
ธาตุอาหารหลักที่ราชพฤกษ์ต้องการ
–
ประโยชน์ของราชพฤกษ์
ใบอ่อน รสเมา แก้กลาก
สรรพคุณทางยา
ฝัก รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นเหม็นเอียน เย็นจัด ไม่มีพิษสรรพคุณใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตานขโมย เป็นยาถ่ายและแก้ไข้มาลาเรีย
เนื้อในฝัก รสหวานเอียน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ยาระบาย แก้ไข้มาลาเรีย แก้ปวดข้อ
เมล็ด เมล็ดเป็นยาระบายและทำให้อาเจียน
ดอก ดอก รสขมเปรี้ยว เป็นยาถ่ายแก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและแผลเรื้อรัง
สรรพคุณทางยาของราชพฤกษ์
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraqinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein, Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinone ทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ

คุณค่าทางโภชนาการของราชพฤกษ์
–
การแปรรูปของราชพฤกษ์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9370&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C
https://www.dnp.go.th/EPAC/9/01rachpig.htm
http://www.suanluangrama9.or.th/data-detail.php?data_id=3&lang=