รามใหญ่
ชื่ออื่นๆ : ทุลังกาสา (ชุมพร) ลังพิสา (ตราด) ปือนา (มลายู-นราธิวาส) กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา เหมือด อ้ายรามใบใหญ่
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไป ตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่น กระจายทั่วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินเดียภาคใต้ ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าโปร่ง ดินทรายหรือดินเหนียวที่ระบายน้ำได้ดี
ชื่อสามัญ : รามใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE
ลักษณะของรามใหญ่
ต้น เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 2-5 เมตร มีกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ต้น
ใบ ใบเดี่ยวรูปหอกปลายใบแหลมเรียงสลับรอบกิ่ง ผิวใบและขอบใบเรียบหนาเป็นมันสีเขียวก้านใบสั้น ใบกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 7-15 ซม. ยอดอ่อนมีสีแดง
ดอก ออกดอกได้ทั้งปี แต่จะมีมากในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของดอก เป็นช่อกระจุกก้านช่อยาว ดอกเล็กสีขาวแกมชมพู เป็นช่อออกตามยอดและข้างกิ่ง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะมี 5 แฉกคล้ายดาว
ผล กลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5ซม. ออกเป็นกระจุก มีก้านช่อยาว ห้อยย้อยลงและก้านผลยาวเรียงสลับรอบก้านช่อ เมื่อสุกจะมีสีแดงก่อนจะเปลี่ยนเป็นผลสุกสีดำ ออกดอกและผล ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน
การขยายพันธุ์ของรามใหญ่
ใช้เมล็ด/เพาะโดยเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่รามใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของรามใหญ่
ผลอ่อน ยอดอ่อน ใช้เป็นผักสด จิ้มน้ำพริก
ผลสุก รสหวานปนฝาด กินได้
นำใบ ยอดมาปรุงอาหาร
สรรพคุณทางยาของรามใหญ่
ใบ แก้โรคตับพิการ ดอก แก้พยาธิ ฆ่าเชื้อโรค แก้ลม
ผล แก้ไข้ แก้ท้องเสีย ตานขโมย รากแก้กามโรคและหนองใน
ลำต้น เป็นยาแก้โรคเรื้อน
คุณค่าทางโภชนาการของรามใหญ่
การแปรรูปของรามใหญ่
ผลสุกใช้ทำเป็นไวน์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10996&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment