ราสเบอรี่
ชื่ออื่นๆ : ราสเบอร์รี่
ต้นกำเนิด : แถบยุโรป
ชื่อสามัญ : Ras-Berry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rubus idaeus L.
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
ลักษณะของราสเบอรี่
ต้น เป็นพืชล้มลุกที่มีขนาดเล็ก สามารถแตกกิ่งก้านเลื้อยได้ นอกจากลำต้นจะเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กแล้ว ยังมีอายุที่ยืนยาว ลำต้นมีสีน้ำตาลลักษณะทรงกลมและลำต้นสามารถแตกหน่อเล็กๆ แทงออกมาจากดินได้ โดยหน่อจะแตกจากลำต้นและมีหนามแหลมปกคลุม
ใบ ใบมีขนาดใหญ่เป็นทรงรี โดยขอบใบจะมีรอยฟันหยักเล็กๆ ก้านใบยาว มีหนามปกคลุมและมีใบย่อย 3 ใบบนก้านเดียวกัน ผิวของใบสากและใบมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อ มีดอกย่อย โดยดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงแตร กลีบดอกมีสีขาว กลีบเลี้ยงมีสีเขียว เกสรสีเหลือง ส่วนก้านดอกยาว ดอกออกตามซอกใบและบริเวณปลายกิ่ง ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
ผล ผลเป็นผลเดี่ยว ที่มีลักษณะรูปทรงกรวย ด้านในกลวงคล้ายรูปหัวใจ ผิวของเปลือกมีปุ่มเล็กๆ อยู่บนผลจำนวนมาก และมีขนเล็กๆ คลุมอยู่ทั่วผล ผลอ่อนจะมีสีขาว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวอมหวานหรือหวานแล้วแต่ตามสายพันธุ์ กลิ่นเบอรี่จะมีกลิ่นที่หอมชวนรับประทาน ภายในผลมีเมล็ดเล็กๆ ลักษณะทรงรี เมล็ดแข็งและมีสีน้ำตาล เริ่มออกผลช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ของราสเบอรี่
การใช้เมล็ด, การปักชำ ปลูกในภาคเหนือในประเทศไทย
ราสเบอร์รีสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี การปลูกทำได้ด้วย วิธีใช้หน่อจากต้น แล้วนำมาปลูกลงในแปลง ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50×50 ซม.ให้ทำค้างให้ลำต้นเลื้อยเกาะ
ราสเบอร์รีจะให้ผลผลิต ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังปลูกลงในแปลง ผลมีขนาดโตเต็มที่ ผลสุกมีสีแดง ให้ตัดออกนำขั้วติดออกมา แล้วต้องเบามือระวังอย่าทำหล่น อาจทำให้ผลช้ำเสียหายได้
ธาตุอาหารหลักที่ราสเบอรี่ต้องการ
ราสเบอร์รีชอบระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบความร้อน ชอบแสงแดด ชอบดินที่ชุ่มชื้น ต้องให้น้ำเพียงพอ ให้ระบายน้ำดี ปลูกช่วงแรกต้องรดน้ำทุกวัน เมื่อต้นเติบโตขึ้น ก็ให้ลดการให้น้ำได้ ปลูกในฤดูฝนจะดี
ประโยชน์ของราสเบอรี่
ราสเบอร์รี่เป็นต้นไม้ที่ให้ผลหรือออกผลเป็นลูกราสเบอรี่ ซึ่งคือผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ นอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานหรือบางสายพันธุ์มีรสชาติหวาน
ราสเบอรีเป็นไม้ผลขนาดเล็กที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและได้ชื่อว่าเป็นผลไม้ต้านมะเร็ง ราสพ์เบอรีอุดมด้วยกรดเอลลาจิก (Ellagic acid) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลตามธรรมชาติ ในการวิจัยทางการแพทย์ได้รับการยอมรับสูงสุดว่ามีฤทธิ์แรงที่สุดในการป้องกันมะเร็ง พบว่ากรดเอลลาจิกสามารถจับสารพิษก่อมะเร็งไม่ให้จับกับดีเอ็นเอส่งผลให้ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลดลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และทำให้เซลล์มะเร็งเกิดภาวะตายตามธรรมชาติ (Apoptosis) โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติเหมือนยาเคมีบำบัด และมีฤทธิ์แรงที่สุดในการป้องกันมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และอาจยับยั้งไม่ให้มะเร็งลุกลาม ราสพ์เบอรีมีกรดเอลลาจิกสูงสุดถึง 1,500 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารธรรมชาติถึง 46 ชนิด รองลงมาคือสตรอเบอรี 639 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีแทนนิน ฟลาโวนอยด์ส เพคติน กรดซิตริก กรดมาลิก น้ำตาลผลไม้ วิตามินซี และเกลือแร่หลายชนิดโดยเฉพาะธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และแคลเซียม
สรรพคุณทางยาของราสเบอรี่
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้
- อุดมไปด้วยกรดเอลลาจิก (Ellagic Acid) ซึ่งเป็นสารต่อต้านมะเร็ง โดยช่วยสกัดไม่ให้สารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งจับกับดีเอ็นเอ และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์และความจำเสื่อม
- มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ ทั้งยังอุดมไปด้วยใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย
- อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบี ช่วยยับยั้งการเกิดริ้วรอย และบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ชุ่มชื้น
- มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้
- อุดมด้วยวิตามินบีรวม และวิตามินเค ที่ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
- มีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้
- มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
คุณค่าทางโภชนาการของราสเบอรี่
การแปรรูปของราสเบอรี่
นอกจากราสเบอรีจะมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยใช้รับประทานผลสดแบบผลไม้ทั่วไปแล้ว เป้าหมายหลักก็เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเหมือนกับไม้ผลขนาดเล็กอื่น ๆ เช่นสตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และกีวีฟรุต เป็นต้น ซึ่งพบว่าขณะนี้ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ผลขนาดเล็กเหล่านี้มากมายปีละหลายสิบล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นในรูปของแยมทาขนมปัง เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้หรือแอลกอฮอล์ ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพประเภทนมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเป็นส่วนประกอบเพื่อให้สีและกลิ่นในขนมหวานหลากหลายชนิดที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10988&SystemType=BEDO
http://www3.rdi.ku.ac.th
https://www.flickr.com
2 Comments