รำเพย ไม้ดอกประดับสีเหลือง ยางมีพิษ

รำเพย

         ชื่ออื่นๆ : กระบอก กะทอก บานบุรี ยี่โถฝรั่ง ดอกกระบอก (กรุงเทพฯ) รำพน (ภาคกลาง) แซน่าวา แซะศาลา (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Yellow Oleander, Lucky Nut, Lucky Bean, Trumpet Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thevetia peruviana (Pers.) K.Schum

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของรำเพย

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีความสูง 2 – 3 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ผิวลำต้นขรุขระ มียางสีขาวเป็นพิษระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะใบแคบเรียวยาวคล้ายใบยี่โถ หนาแต่ไม่แข็ง ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ออกทีละ 3-4 ดอกที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นกรวย มีกลีบ 5 กลีบเรียงซ้อนทับกัน โคนดอกเป็นหลอดมีสีอมเขียว มีกลีบเลี้ยง ยาวแหลม 5 กลีบเช่นกัน ดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง ส้ม ขาว เมื่อดอกโรยจะติดผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกตลอดปี

ผล ผลมีลักษณะกลม ปลายผลแบนมีรอยหยักเป็น 2 แฉก เมื่อสุกมีสีดำ มีเมล็ดข้างใน 1-2 เมล็ด ออกดอกในฤดูฝนถึงฤดูหนาว

ต้นรำเพย
ต้นรำเพย ไม้ต้นขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว
ดอกรำเพย
ดอกรำเพย ดอกเป็นกรวย สีเหลือง

การขยายพันธุ์ของรำเพย

การเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป โดยเฉพาะดินปนทราย และชอบแสงแดดจัด

ธาตุอาหารหลักที่รำเพยต้องการ

ประโยชน์ของรำเพย

ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของรำเพย

  • ใบ มีรสเอียนเมา เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน และใช้รักษาโรคเอดส์
  • เมล็ด มีรสเมาเบื่อ ใช้เล็กน้อยเป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้มากเป็นพิษทำให้หัวใจเป็นอัมพาตลำไส้เล็กบีบตัว ตัวเย็นลงถึงตายได้
  • เปลือกต้น มีรสอมเอียน แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาถ่าย
  • ต้น มีรสเอียนเมา แก้โรคผิวหนัง

ข้อควรระวัง

  • เมล็ดและยางมีพิษมาก
  • เป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง
  • รับประทานเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หมดสติ หัวใจเป็นอัมพาต
ผลรำเพย
ผลรำเพย ผลกลม สีเขียว

การออกฤทธิ์ : พิษต่อหัวใจและเลือด

ส่วนที่เป็นพิษ : ทั้งต้น

สารพิษ : digitalis

อาการ : ระคายเคืองเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหารก่อน ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและปวดท้อง ถ้ารับประทานเข้าไปมาก และล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านทางลำไส้และแสดงพิษต่อหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของไกลโคไซด์

วิธีการรักษา :

  1. นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  2. ล้างท้อง
  3. รักษาตามอาการ
  4. ถ้าจาก EKG พบว่า มี Ventricular tachycardia ควรให้ potossium chloride (5-10 g) หรือให้ K+ (80 mEq/L) การเจ็บแขนอาจช่วยด้วยการนวด และ ประคบน้ำร้อน

คุณค่าทางโภชนาการของรำเพย

การแปรรูปของรำเพย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10381&SystemType=BEDO
www.il.mahidol.ac.th
www.medplant.mahidol.ac.th
www.flickr.com

Add a Comment