มะม่วงหัวช้าง
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงหัวช้าง เขมรเรียก สวาย, กะบาล, ตำแรย
ชื่อสามัญ : Mango, Mango tree
ต้นกำเนิด : ประเทศมาเลเซีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของมะม่วงหัวช้าง
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง – ใหญ่ ผิวเปลือกขรุขระเป็นร่องลึก สำต้นสีน้ำตาล
ใบ ใบอ่อนสีค่อนข้างไปทางแดง ใบแก่เรียวยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมันวาว
ดอก เป็นช่อประกอบรูปฉัตร บานจากโคนไปหาปลาย สีขาวเหลืองนวล มีกลิ่นหอม เมื่อแก่เต็มที่จะหลุดร่วงแล้วมีผลมะม่วงเล็กๆอยู่ภายใน ออกดอกติดผลในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม
ผล ผลค่อนข้างกลม ตรงหัวเป็นร่องตื้นๆ ผลใหญ่ ยาวประมาณ 15- 20 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 – 20 ซม. เนื้อแน่นละเอียด กรอบ เปรี้ยว นิยมรับประทานผลแก่มากกว่าผลสุก ออกผลเดือนมีนาคม – เมษายน


การขยายพันธุ์ของมะม่วงหัวช้าง
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง, ทาบกิ่งเสียบยอด
การปลูกมะม่วงหัวช้าง
เตรียมหลุมปลูกขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้ววางต้นพันธุ์ลงกลางหลุมปลูก กลบดินให้พูนช่วงโคนต้นเล็กน้อย
ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น
ประโยชน์ของมะม่วงหัวช้าง
- สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก
-
ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
-
ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
-
ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
-
เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
-
เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : FB สวนไม้งาม พันธุไม้ออนไลค์
ภาพประกอบ : FB Katwaistylish, https://www.youtube.com/ , Twins & Sister Cafe
ลักษณะของมะม่วงหัวช้าง ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อแน่น
มะม่วงหัวช้าง ผลดิบรสเปรี้ยว นิยมทานผลสุก