ลักษณะของมะม่วง โชคไพบูลย์ สายพันธุ์ของมะม่วง

มะม่วงโชคไพบูลย์

ชื่ออื่นๆ :  มะม่วงโชคไพบูลย์, มะม่วงเพชรไพบูลย์, มะม่วงเจ้าลงกา, มะม่วงลงกา, มะม่วงลาโป๊, มะม่วง Mahathir (อินโด)

ชื่อสามัญ : Mango, Mango tree

ต้นกำเนิด  :  ประเทศมาเลเซีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE   

ลักษณะของมะม่วงโชคไพบูลย์

ต้น  ลำต้นสูง 2-3 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล 

ใบ   ปลายใบแหลม ขอบใบ คลื่นเล็กน้อบ เนื้อใบค่อนข้างหนา

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองนวลจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม

ผล  ผลกลมมีขนาดใหญ่ เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เนื้อแน่นละเอียด กรอบ รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลสุกรสชาติหวานหอม เนื้อเหลือง ไม่มีเสี้ยน

มะม่วงโชคไพบูลย์
มะม่วงโชคไพบูลย์ ผลมีขนาดใหญ่ ปลายผลงอนเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของมะม่วงโชคไพบูลย์

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง, ทาบกิ่งเสียบยอด

การปลูกมะม่วงโชคไพบูลย์

เตรียมหลุมปลูกขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้ววางต้นพันธุ์ลงกลางหลุมปลูก กลบดินให้พูนช่วงโคนต้นเล็กน้อย 

ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น

ประโยชน์ของมะม่วงโชคไพบูลย์

  • สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก
  • ผลดิบ มีรสมันอมเปรี้ยว นิยมนำมาตำ ยำ และจิ้มน้ำปลาหวาน
  • ผลสุกมีรสชาติ คล้ายมะม่วงแก้ว หวาน กลิ่นหอม
  • ผลสุกทานกับข้าวเหนียวมูน
  • เป็นมะม่วงผลใหญ่ เนื้อเยอะ เมล็ดเล็ก 
มะม่วงโชคไพบูลย์สุก
มะม่วงโชคไพบูลย์สุก เนื้อสีเหลือง ไม่มีเสี้ยน

การแปรรูปมะม่วงโชคไพบูลย์

มะม่วงอบแห้ง มะม่วงกวน

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูล : https://khlongkhuean.com/
ภาพประกอบ : FB บ้านสวนพันธุ์ไม้ จำหน่ายพันธุ์ไม้ทุกชนิด ทั้งปลีกและส่ง, https://www.lazada.co.th/

One Comment

Add a Comment