ลางสาด
ชื่ออื่นๆ : รังสาด, ลังสาด, รางสาด, ลางสาด (ไทย) ลาซะ, ดูกู (มลายู)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Lansium
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lansium domesticum Serr
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะของลางสาด
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ผลเมืองร้อน (ร้อนชื้น) มีลำต้นตรง สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นมุมแหลมกระจายกึ่งกลางลำต้นขึ้นไป ลักษณะปลายกิ่งตั้ง ส่วนผิวของลำต้นชั้นนอกมีสีเทาและขรุขระ เปลือกไม่หลุดออก
ใบ ใบเป็นใบประกอบ เกิดสลับซ้ายขวาอยู่ต่างระนาบกัน ก้านใบกลม ลักษณะใบเป็นรูปไข่รีโค้งมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ที่ผิวใบมีไขนวลปกคลุมอยู่ ใบมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างใบมีเส้นใบนูนเด่น
ดอก เป็นดอกช่อสีขาว เกิดตามลำต้นตามกิ่ง ลักษณะดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
ผล ออกผลเป็นช่อ ๆ ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง ผลมีลักษณะกลมรี เปลือกค่อนข้างบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนนุ่ม มียางมากเป็นสีขาวขุ่น ๆ ส่วนเนื้อในนิ่ม ฉ่ำน้ำ มีรสหวานหอมอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลออกช่วงเดือนกันยายน
เมล็ด มีเมล็ดมาก ประมาณ 5 เมล็ด และเมล็ดมีสีน้ำตาล ลักษณะกลมแบนรี มีเปลือกหุ้มบางๆ ผิวเมล็ดเรียบ มีเนื้อในสีขาว มีรสฝาดและขมจัด
การขยายพันธุ์ของลางสาด
ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนปลูก
ธาตุอาหารหลักที่ลางสาดต้องการ
ประโยชน์ของลางสาด
- ผลนำมารับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของลางสาด
- ผลมารับประทานหรือจำหน่ายทางด้านสมุนไพร ผลแก้ท้องร่วงและบิด
- เปลือกผล มีสารโอเลอเรซิน สรรพคุณแก้ท้องร่วงและบรรเทาอาการปวดท้อง
- เปลือกต้น มีรสฝาด ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้
- เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้
- เนื้อลางสาด ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 และวิตามินซี เปลือกต้น ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้ไข้ เปลือกผล สามารถแก้อาการท้องร่วงท้องเดินได้ โดยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด กินครั้งละครึ่งถ้วย เมล็ด นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาหยอดหู แก้อักเสบ หรือเป็นฝีในหู ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาเริมและงูสวัดได้
คุณค่าทางโภชนาการของลางสาด
การแปรรูปของลางสาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10494&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment