ลำเพ็ง คล้ายยอดผักกูด สีแดงอมน้ำตาล ขอบใบหยักเล็กน้อย

ลำเพ็ง

ชื่ออื่นๆ : ลำเพ็ง ลำเท็ง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stenochlaena palustris (Burm. f) Bedd.

ชื่อวงศ์ : PTERIDACEAE

ลักษณะของลำเพ็ง

เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะยึดติดไม้อื่น คล้ายยอดผักกูด สีแดงอมน้ำตาล ขอบใบหยักเล็กน้อย ผิวใบด้านหน้าเรียบมัน หลังใบมีเส้นใบนูน ใบแก่จะแข็ง

พื้นที่เจริญเติบโตได้ดี ชอบที่ราบลุ่ม ชิ้นแฉะ ป่าพรุ หรือขึ้นในสวนมะพร้าว

ลำเพ็ง
ลำเพ็ง ไม้เถาเลื้อยเกาะยึดติดไม้อื่น สีแดงอมน้ำตาล ขอบใบหยักเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของลำเพ็ง

ใช้ส่วนอื่นๆ/ส่วนที่ใช้ขยายพันธ์ จะใช้เถา

ธาตุอาหารหลักที่ลำเพ็งต้องการ

ประโยชน์ของลำเพ็ง

ใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ยอดเป็นผักเหนาะ แกงเลียง ผัด

สรรพคุณทางยาของลำเพ็ง

สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ใบตำผสมกับดินประสิวดิบเล็กน้อยโปะกระหม่อมเด็กแก้ร้อนใน ทั้งต้น ต้มแก้ไข้ผ้าง ไข้พิษ ไข้ปวดหัวตัวร้อน ไข้หวัด หืดหอบ ไข้สันนิบาต

คุณค่าทางโภชนาการของลำเพ็ง

การแปรรูปของลำเพ็ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10741&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment