ลำแข เป็นผลไม้ป่าเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ของไทย ผลคล้ายกับลูกกระท้อนหรือลูกเตียน

ลำแข

ชื่ออื่นๆ : ลำแข หรือ รำมะแข ลูกปุย (พังงา ภูเก็ต) มือแค(มลายูถิ่น) มะไฟกา

ต้นกำเนิด : เป็นผลไม้ป่าเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ของไทย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea macrocarpa (Miq.)

ชื่อวงศ์ : Phyllanthaceae

ลักษณะของลำแข

ต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม.

ใบ ใบรูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 7-37 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนประปรายตามเส้นใบ ก้านใบยาวได้ถึง 14 ซม. ช่อดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุก 1-3 ช่อ ยาวได้ถึง 13 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก

ดอก ดอกกระจายตลอดความยาวช่อ ดอกบาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ช่อดอกเพศเมียออกเป็นกระจุก 1-3 ช่อ ยาวได้ถึง 18 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.5-1.5 มม. ยอดเกสรแยก 2 แฉก ยาว 0.5-1 มม.

ผล เส้นผ่าศูนย์กลางยาวได้ถึง 8 ซม. ผลคล้ายกับลูกกระท้อน หรือลูกเตียน เนื้อผลลักษณะคล้ายลองกอง ผิวของเปลือกสีส้มเข้ม สีน้ำตาลเหลืองหรือแดง อมเขียว ด้านนอกมีขนละเอียดประปราย ด้านในมีขนหนาแน่นหรือเกือบเกลี้ยง เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาวหรือเหลืองอมส้ม ออกผลประมาณเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

ต้นลำแข
ต้นลำแข ไม้ต้น แผ่นใบด้านล่างมีขนประปรายตามเส้นใบ
ผลลำแข
ผลลำแข ผิวของเปลือกสีส้มเข้ม สีน้ำตาลเหลืองหรือแดง

การขยายพันธุ์ของลำแข

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ลำแขต้องการ

ประโยชน์ของลำแขเป็นผลไม้ป่าเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ของไทย

ผลจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เมื่อได้กินหรือเคี้ยวแล้วจะสัมผัสได้ถึงรสเปรี้ยวนำมาก่อน แล้วจะมีรสหวานตามมา สามารถที่จะกินกลืนได้ทั้งเม็ด

เนื้อผลลำแข
เนื้อผลลำแข เนื้อสีขาว เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาว

สรรพคุณทางยาของลำแข

คุณค่าทางโภชนาการของลำแข

การแปรรูปของลำแข

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11534&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment