ลำแพนหิน
ชื่ออื่นๆ : ลำพู (พังงา) ลำแพน (สตูล) ลำแพนทะเล
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia griffithii Kurz Sonneratia griffithii
ชื่อวงศ์ : SONNERATIACEAE
ลักษณะของลำแพนหิน
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อาจสูงถึง 25 เมตร ต้นที่แก่มากๆ มักเป็นโพรงที่ ต้นเปลือกสีนำตาลอ่อน รากหายใจอ้วนสั้น รูปกรวยครำ ยาว 30 – 40 ชม. เหนือผิวดิน
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สีเขียวเข้ม แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง ถึงรูปเกือบกลม ขนาด 5 – 8 * 6 – 10 ชม. ปลายใบกลม ก้านใบสั้นเป็นครีบ เส้นใบพองมองเห็นทางด้านผิวใบด้านบน
ดอก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุกช่อละ 2-3 ดอก ออกเฉพาะที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเมื่อยังเป็นตาดอกรูปไข่ถึงกลม ยาว 2-3 ซม. ผิวเรียบไม่มีสัน หลอดกลีบเลี้ยงรูประฆังกว้างและแคบลงทันทีทางส่วนโคน กลีบเลี้ยง 6-8 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปขอบขนาน กลีบดอกร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 3-4 ซม. สีขาว ออกดอกเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน
ผล เป็นผลมีเนื้อ และมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อผล ผลแข็งรูปกลมด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 3.5-5.2 x 2-3 ซม. สีเขียวเข้ม กลีบเลี้ยงแผ่บานออกไม่โค้งกลับ ออกผลเดือนตุลาคม – มกราคม
การขยายพันธุ์ของลำแพนหิน
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ลำแพนหินต้องการ
ประโยชน์ของลำแพนหิน
ปลูกเป็นไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของลำแพนหิน
ยอดกับใบแก่ ตำให้ละเอียดผสมน้ำฉีดพ่นป้องกันยุงลาย
คุณค่าทางโภชนาการของลำแพนหิน
การแปรรูปของลำแพนหิน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9467&SystemType=BEDO
www.km.dmcr.go.th, www.flickr.com