ลำแพน ไม้ยืนต้น ดอกสีเหลืองอมเขียว ด้านบนนุ่มคล้ายกำมะหยี่

ลำแพน

ชื่ออื่นๆ : ลำพูป่า, ลำแพนเขา, อีกาย, ลำพูขี้แมว, ลำพูควน 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia ovata

ชื่อวงศ์ : SONNERATIACEAE

ลักษณะของลำแพน

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 4- 12 เมตร กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปราะ รากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 15- 30 ซม. เหนือผิวดิน

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กว้าง ถึงรูปเกือบกลม ขนาด 3-8 ชนิดหนึ่ง 4-9 ซม. ปลายใบกลม กว้าง ฐานใบกลมสีเขียว เข้ม ก้านใบยาว 0.3-1.5 ซม. ลำต้นที่มีอายุมาก ใบมักจะบิดเบี้ยวไม่สมมาตร

ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 ซม. บางครั้งไม่มีก้านดอกย่อย เมื่อเป็นตาดอกวงกลีบเลี้ยง รูปไข่กว้าง ยาว 2-3 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีสันเด่นชัด กลีบเลี้ยงมักมี 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวกว่าหลอดเล็กน้อย ด้านบนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ สีเหลืองอมเขียว และสีชมพูเรื่อ ๆ ที่โคนกลีบด้านใน กลีบดอกไม่ปรากฏ ออกดอกและผลตลอดทั้งปี

ผล เป็นผลมีเนื้อและมีเมล็ด ผลกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 3-4.5 x 2.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยงงอหุ้ม ติดผล ผลมีรสออกเปรี้ยว

ลำแพน
ลำแพน กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปราะ
ดอกลำแพน
ดอกลำแพน ดอกสีเหลืองอมเขียว ด้านบนนุ่มคล้ายกำมะหยี่

การขยายพันธุ์ของลำแพน

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ลำแพนต้องการ

ประโยชน์ของลำแพน

ผลมีรสเปรี้ยว รับประทานได้

สรรพคุณทางยาของลำแพน

  • ทั้งต้น ต้มกับน้ำ แก้อุจจาระติดโลหิตสดๆ โลหิตช้ำ เผาไฟเอาขี้เถ้าละลายน้ำสุก ดื่มแก้เมื่อยเข็ดตามข้อกระดูก

คุณค่าทางโภชนาการของลำแพน

การแปรรูปของลำแพน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9636&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment