ลูกดิ่ง
ชื่ออื่นๆ : ค้อนกลอง (ขอนแก่น), มะขามเฒ่า,อีเฒ่า (ปราจีนบุรี)
ต้นกำเนิด : ภาคกลาง ภาคตะวันLEGUMINOSAE -ออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย
ต่างประเทศพบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว
ขึ้นตามริมลำธารที่ค่อนข้างโล่งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ระดับความสูง 100-900 เมตร
ชื่อสามัญ : ลูกดิ่ง (พืชหายาก)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia sumatrana Miq. ssp. streptocarpa (Hance) Hopkins
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE
ลักษณะของลูกดิ่ง
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เกือบเท่ากับต้นสะตอ ลำต้นสูงถึง 35 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกต้นสีขาว
ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ลักษณะเป็นช่อ ก้านช่อยาว 5.5-8 ซม. แกนช่อยาว 13-30 ซม. พบแกนช่อใบจะมีช่อใบแขนง 5-12 คู่ และในช่อใบแขนงมีใบย่อย 12-27 คู่ ใบย่อยมีรูปขอบขนานแคบๆ ยาว 10-28 มม. กว้าง 3-10.5 มม. ฐานใบไม่มีติ่งยื่นหรืออาจยื่นเล็กน้อย ปลายใบมักจะมนหรือเป็นรูปตัด เว้าเป็นแอ่งตื้นๆ ตรงกลาง
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตุ้มกลม สีเหลือง ดอกตัวผู้มีกลีบรองกลีบดอก 7 มม. ลักษณะรูปแตร หลอดเกสรตัวผู้ยาว 6-7 มม. มีอับละอองเกสร ส่วนดอกสมบูรณ์เพศมีขนาดโตกว่าดอกตัวผู้
ผล ออกเป็นฝักเช่นเดียวกับสะตอ ฝักจะบิดเวียนเล็กน้อย เมล็ดเรียงตามยาวของฝัก
การขยายพันธุ์ของลูกดิ่ง
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ลูกดิ่งต้องการ
ประโยชน์ของลูกดิ่ง
ยอดอ่อน เมล็ด รับประทานสดหรือนำมาปิ้งไฟ ลวก ต้ม รับประทานกับน้ำพริกกะปิ แกงกะทิ ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดเผ็ด ผัดใส่หมู เนื้อ กุ้ง หรือนำมาดองเหมือนสะตอ
สรรพคุณทางยาของลูกดิ่ง
คุณค่าทางโภชนาการของลูกดิ่ง
การแปรรูปของลูกดิ่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11373&SystemType=BEDO
https://www.tistr.or.th
https://www.flickr.com