ลูกปริง หรือ มะปริง
ชื่ออื่นๆ : ลูกปริง, มะปริง, ปริง, ตง, ส้มปริง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Plum Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea oppositifolia Meissn
ชื่อวงศ์ : ANACEARDIACEAE
ลักษณะของลูกปริง หรือ มะปริง
ต้นมะปริง พบมากภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะคล้ายมะปราง ต่างกันที่ผลเล็กและป้อมกว่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกว้างๆ หรือบางครั้งเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบสีเทาปนดำ มีน้ำยางสีเหลืองซึม
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และแต่ละคู่สลับทิศทางกัน ใบอ่อนสีม่วงห้อยย้อยลง รูปขอบขนานหรือรูปหอก กว้าง 2-6 ซม. ยาว 10-20 ซม. โคนใบมนหรือสอบเข้าเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งทู่ๆ เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบโค้งขนานกันมี 16-18 คู่ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้าง ใบแก่มักมีคราบขาวๆ ก้านใบยาว 1-2 ซม.เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง
ดอก ดอกสีเหลืองอ่อนหรือปนเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบปละปลายกิ่ง มีทั้งดอกแยกเพศและสมบูรณ์เพศ ดอกเพศผู้มีจำนวนมากและขนาดเล็กกว่าดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ โคนกลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกสรตัวผู้มี 4-5 อัน ก้านอับเรณูสั้นมาก รังไข่ในดอกเพศผู้ไม่มี ส่วนในดอกสมบูรณ์เพศรังไข่เบี้ยว หลอดท่อรังไข่สั้นมาก ปลายแยกเป็น 3 แฉก
ผล ลักษณะกลมรี ผิวผลบางมีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่สีเหลืองมีรสเปรี้ยวหรือหวาน เมล็ดแข็งมีเสี้ยนมาก เมล็ดในสีม่วง ให้ผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
การขยายพันธุ์ของลูกปริง หรือ มะปริง
ใช้เมล็ด/หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1ต้น
ธาตุอาหารหลักที่ลูกปริง หรือ มะปริงต้องการ
ประโยชน์ของลูกปริง หรือ มะปริง
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
ผลดิบ ใส่น้ำพริก ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาว
สรรพคุณทางยาของลูกปริง หรือ มะปริง
ผลใช้กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต รากแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้ตัวร้อน
คุณค่าทางโภชนาการของลูกปริง หรือ มะปริง
การแปรรูปของลูกปริง หรือ มะปริง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11114&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/