วงศ์ดันหมีและสกุลดันหมี ICACINACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม บางทีเป็นไม้เลื้อยไม่มีหูใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ อยู่ในระนาบเดียวกัน ขอบเรียบ หลุดร่วงหรือติดแน่น ดอกออกเดี่ยวหรือเป็นช่อตามง่ามใบ สมมาตรตามรัศมี สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศเมียมี 5 กลีบ ติดเรียงเวียนบนฐานดอก มีขนเป็นต่อมแข็ง เกสรเพศเมียเป็นคาร์เพลแยก รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่อง แต่ละช่องมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน สั้นหนาหรือไม่มี ผลเมล็ดเดียวแข็ง เมล็ดใหญ่

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้ต้น ใบหนามัน ดอกเล็ก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5 อัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่อง แต่ละช่องมี 2 ออวุล ผลเมล็ดเดียวแข็ง

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Aquifoliaceae ผลมีเมล็ด 4 ถึงจำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้ไม่มีขน 

การกระจายพันธุ์

พบทั่วไปในเขตร้อน ในป่าที่ต่ำ ในประเทศไทยมี 13 สกุล เช่น

  • สกุล Gonocaryum ไม้ต้นขนาดเล็ก ดอกสมบูรณ์เพศ รังไข่และผลมี 2 ช่อง ได้แก่ ดันหมี Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz
  • สกุล Iodes  ไม้เถา ดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อ ได้แก่ เถาคัน Iodes cirrhosa Turcz. ไก่ต้น Iodes vitiginea (Hance) Hemsl.
  • สกุล Gomphandra ไม้พุ่ม  ดอกแยกเพศ รังไข่และผลมี 1 ช่อง ได้แก่ นีเลง Gomphandra quadrifida (Blume) Sleumer var. ovalifolia (Ridl.) Sleumer
ดันหมี
ดันหมี ผลคล้ายผลสมอ ผลสุกสีดำ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.powo.science.kew.org

One Comment

Add a Comment