วงศ์พังแหร ULMACEAE พืชสกุลพังแหร

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์พังแหร ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ช่อดอกแบบกระจุก กระจะ หรือแยกแขนงออกตามง่ามใบ ดอกสมบูรณ์เพศหรือแยกเพศวงกลีบรวม 4-8 กลีบ บางครั้ง โคนกลีบเชื่อมติดกัน ในดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรเพศผู้ 4-8 อัน รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก ส่วนในดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 4-8 อัน บางครั้งมีรังไข่ฝ่อติดอยู่ ดอกเพศเมีย บางครั้งมีเกสรเพศผู้ฝ่อติดอยู่ 4-8 อัน รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก รังไข่มี 1-2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลมีทั้งผลสดและผลแห้ง บางครั้งมีปีก มักมีก้านเกสรเพศเมีย รูปง่ามหนังสติ๊กติดที่ปลายผล มี 1 เมล็ด

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม มีน้ำยาง ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน โคนเบี้ยว มีหูใบ ดอกมีกลีบรวมหนึ่งชั้น เกสรเพศผู้เท่ากับจำนวนกลีบ ผลมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง ที่ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Moraceae  กลีบรวมมี 4-5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 1-5 อัน ออวุลติดแบบห้อยลง
  • Urticaceae โคนใบเท่ากัน ผลเป็นผลรวม

การกระจายพันธุ์

พบในทั่วไปในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในประเทศไทยมี 3 สกุล

  • สกุล Celtis ดอกแยกเพศ ผลแห้ง ได้แก่ แก้งขี้พระร่วง Celtis timorensis Span. ทลายเขา Celtis philippensis Blanco
  • สกุล Gironniera ดอกแยกเพศ ผลแห้ง เช่น หนอนขี้ควาย Gironniera nervosa Planch.
  • สกุล Trema ดอกสมบูรณ์เพศ ผลมีเนื้อ เช่น พังแหรใหญ่ Trema orientalis (L.) Blume เป็นพืชเบิกนำ พบทั่วไปในที่รกร้างสองข้างทาง
  • สกุล Ulmus ผลแห้งมีปีก เช่น Ulmus lanceolata Roxb. ex Wall.
พังแหร
พังแหร ไม้ต้นขนาดกลาง กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment