วงศ์นุ่น BOMBACACEAE ลักษณะลำต้นมีหนาม

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์นุ่น BOMBACACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นเนื้อแข็ง มีหูใบ ใบเดี่ยว จักเป็นรูปนิ้วมือ ติดเวียนสลับ ขอบเรียบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอกแยก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันที่โคนรังไข่ ติดเหนือวงกลีบมี 2-5  ช่อง ผลเป็นแบบผลแห้ง

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์นุ่น BOMBACACEAE เป็นไม้ต้น ลำต้นมีหนาม ใบเดี่ยวจักเป็นรูปนิ้วมือ ใบมีเกล็ดหรือขนรูปดาว เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดหลายมัด ผลมีหนามหรือเรียบ เมล็ดมีเนื้อหรือล้อมรอบด้วยขน

ต้นงิ้ว
ต้นงิ้ว ลําต้นและกิ่งมีหนามแหลม
ผลงิ้ว
ผลงิ้ว ผลอ่อนสีเขียว

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Cochlospermaceae – ไม่มีขนรูปดาว ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน
  • Malvaceae – ใบมักจะมีเส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่คนใบ ผลมีขน
  • Sterculiaceae – ใบมักจะมีเส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ มักจะมีก้านชู เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย

การกระจายพันธุ์

สกุลนุ่น พบในเขตร้อนทั่วไปในประเทศไทยมี 3  สกุล ส่วนมากเป็นพืชในป่าดิบชื้นที่ต่ำ

  • สกุล Bombax เมล็ดมีล้อมรอบด้วยขน เช่น งิ้ว Bombax ceiba L.
  • สกุล Durio ผลมีหนาม  เช่น ทุเรียน Durio zibethinus Merr.
  • สกุล Neesia ผลมีหนาม เช่น ช้างแหก Neesia altissima (Blume) Blume
ดอกงิ้ว
ดอกงิ้ว ดอกสีแดงสีส้ม ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวจำนวนมาก

ประโยชน์

พืชวงศ์นี้ ผลกินได้ ใช้เนื้อไม้ ได้แก่ ทุเรียน Durio ผลมีปุยขน (kapok) ได้แก่ นุ่น  Bombax การถ่ายละอองเรณูโดยค้างคาว เมล็ดของพืชหลายชนิดในวงศ์นี้ เป็นอาหารของสัตว์

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment