วงศ์มณเฑียรทอง SCROPHULARIACEAE ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมักเลื้อย

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์มณเฑียรทอง SCROPHULARIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปีหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมักเลื้อย ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ หรือตรงข้าม หรือติดเป็นกลุ่มที่ข้อเดียวกัน ขอบเรียบ หรือจักเป็นพู แบบขนนก ดอก สมบูรณ์เพศ มักสมมาตรด้านข้าง ดอกเป็นรูปกระเป๋าปากเปิด มีพูบนและพูล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อีน สั้น 2 ยาว 2 มีจานฐานดอก รังไข่ ติดเหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียเป็นก้อน หรือเป็น 2 พู ไข่อ่อนมีจำนวนมาก ติดตามแนวแกน ผลเป็นแบบผลแห้งแตก แตกตามรอยประสาน หรือแตกระหว่างพูมีเมล็ดจำนวนมาก

ลักษณะเด่นของวงศ์

ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว ดอกสมบูรณ์เพศ มักสมมาตรด้านข้าง ดอกเป็นรูปกระเป๋า ปากเปิด มีพูบนและพูล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 รังไข่ติดเหนือวงกลีบ

การกระจายพันธุ์

วงศ์มณเฑียรทอง SCROPHULARIACEAE ทั่วในประเทศไทยมี 30 สกุล 106 ชนิด เช่น

  • สกุล Limnopila สาหร่ายพุงปลาชะโด หรือสาหร่ายฉัตร Limnopila heterophylla (Roxb.) Benth. เป็นไม้ล้มลุกในน้ำ มีส่วนที่ชูในอากาศ ดอกสีม่วง พบในน้ำกร่อย ในบ่อและนาข้าว
  • สกุล Lindenbergia หญ้าดับไฟ Lindenbergia philippensis (Cham.) Benth. ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านกระจาย มีขน ดอกสีเหลือง พบสองข้างทาง บนหินในธารน้ำ บนเขาหินปูน
  • สกุล Pedicularis ชมพูเชียงดาว Pedicularis siamensis Tsoong ดอกสีม่วงเข้ม พบเป็นพืชเฉพาะถิ่นบนดอยเชียงดาว
  • สกุล Torenia มณเฑียรทอง Torenia hirsutissima Bonati ดอกสีเหลือง แววมยุรา Torenia violacea (Azaola ex Blanco) Pennell ดอกสีขาว มีส่วนที่เป็นสีม่วง พูด้านข้าง พบตามทุ่งหญ้าชื้น ตามพนทราย หรือน้ำแฉะ  เช่น บนภูกระดึง ภูหลวง ภูเมี่ยง
  • สกุล Wightia ชมพูพาน หรือตูมกาแดง Wightiaspeciosisima (D. Don) Merr. ดอกสีชมพูเป็นพืชอิงอาศัยบนไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา
แววมยุรา
แววมยุรา ดอกสีม่วง โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง

มณเฑียรทอง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment