วงศ์มังคุดและสกุลของมังคุด GUTTIFERAE

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์มังคุด GUTTIFERAE  ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม เรือนยอดส่วนใหญ่แตกกิ่งตั้งฉากกับลำ ต้น มักมียางเหนียวใส ขาวขุ่นคล้ายน้ำนมหรือเหลือง ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน โคนก้านใบมักหุ้มยอดอ่อน แผ่นใบ มีจุดใสกระจายทั่วไป ช่อดอกแบบกระจุก หรือแยกแขนง บางครั้งดอกออกเดี่ยว ตามง่ามใบ และปลายกิ่ง หรือตามกิ่งที่ไร้ใบ ใบประดับย่อยรูปคล้ายกลีบเลี้ยงดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 4-6 กลีบ มีน้อยมากที่มีอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มักมีมาก ก้านชู อับเรณูมักเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม รังไข่1 อัน อยู่เหนือฐานดอก ส่วนใหญ่มี 1-5 ช่อง น้อยมาก ที่พบว่ามีจำ นวนมาก แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1-2 หน่วย ผลมีทั้งผลสดและผลแห้งแตก มีกลีบ เลี้ยงประดับขั้วผล เมล็ดบางครั้งมีเยื่อหุ้ม

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Theaceae ใบเรียงสลับ ไม่มียางสีเหลือง ดอกสมบูรณ์เพศ ก้านเกสรเพศเมียมี1 อัน

การกระจายพันธุ์

วงศ์พืชชนิดนี้เป็นพืชในเขตร้อน มีหลายชนิดเป็นผลไม้ ในประเทศไทยมี 7 สกุล เช่น

  • สกุล  Garcinia ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น รังไข่มี 2-12 ช่อง แต่ละช่องมี 1 ออวุล เช่น มังคุด Garcinia mangostana L. มะดัน Garcinia schomburgkiana Pierre
  • สกุล Cratoxylum ดอกสีชมพูหรือขาว เมล็ดมีปีก เช่น ติ้วขาว Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp. formosum ติ้วขน Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp. pruniflorum (Kurz) Gogel.
  • สกุล Calophyllum ดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละช่องรังไข่มี 1 ออวุล ใบมีเส้นใบเรียงขนาดถี่ เช่น กระทิง Calophyllum inophyllum L. กะทังหัน Calophyllum thorelii Pierre
ติ้วส้ม
ติ้วส้ม ไม้ต้นผลัดใบ แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ
มังคุด
มังคุด ค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเหลืองอมเขียว ผิวผลแข็ง ผลแก่สุกจะเป็นผลสีม่วงดำ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment