พืชวงศ์ว่านไก่แดง GESNERIACEAE ลักษณะวงศ์ว่านไก่แดง

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์ว่านไก่แดง GESNERIACEAE  ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก บางครั้งเป็นเถาเลื้อย หรืออิงอาศัยบนไม้อื่น มีน้อยที่เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว ส่วนใหญ่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ หรือเรียงเป็นวง มีน้อยที่เรียงสลับ แผ่นใบบางครั้งจักลึก ช่อดอกมักเป็นแบบกระจุก บางครั้งลดรูป หรือดอกออกเดี่ยว ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกเบี้ยว ส่วนใหญ่สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มักเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย รูประฆัง หรือรูปท่อ มีน้อยที่จักลึกถึงโคนกลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ หรือรูปแตร ปลายแยก 5 กลีบ เบี้ยวเป็นรูปปากเกสรเพศผู้มักมี 2 คู่แต่ละคู่ยาวไม่เท่ากัน มีน้อยที่มีเพียง 1คู่ รังไข่ 1 อัน ส่วนใหญ่อยู่เหนือฐานดอก บางครั้งฝังอยู่ในฐานดอกเป็นบางส่วน มี 1ช่อง มีน้อยที่มี 2 ช่อง มีไข่อ่อนมาก ผลส่วนใหญ่แห้งแตก มีน้อยที่ผลสด มีเมล็ดมาก

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Lentibulariaceae พืชดักแมลง มีขนเหนียว เกสรเพศผู้มี 2 อัน พลาเซนตารอบแก่น

การกระจายพันธุ์

สกุลของว่านไก่แดง พบทั่วไปในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมี 27 สกุล ได้แก่

  • สกุล Aeschynanthus เกาะอาศัยบนต้นไม้ เช่น ว่านไก่แดง Aeschynanthus andersonii C.B. Clarke ว่านไก่แสด Aeschynanthus garrettii Craib
  • สกุล Didymocarpus พืชล้มลุก เช่น ข้าวก่ำผา Didymocarpus biserratus Barnett
  • สกุล  Chirita เช่น น้ำดับไฟ Chirita involucrata Craib
ว่านไก่แดง
ว่านไก่แดง ดอกสีแดง หลอดกลีบดอกยาว

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment