ลักษณะประจำวงศ์
ไม้ล้มลุก มักมีเหง้า ลำต้นมีข้อและปล้องชัดเจน ภายในปล้องมักกลวง ใบเดี่ยว เรียงสลับ กาบใบมักยาวหุ้มปล้อง ปลายกาบมีลิ้นใบรูปต่างๆ เช่น เป็นแผ่นเรียบ หยักเป็นริ้ว หรือเป็นขน ช่อดอกแบบแยกแขนงออกที่ปลายยอดช่อแขนงหรือช่อย่อยหุ้มด้วยใบประดับ ลักษณะคล้ายเกล็ดขนาดเล็กเรียงซ้อนสลับกัน ดอกส่วนใหญ่สมบูรณ์เพศ หุ้มด้วยกาบบางๆ ขนาดเล็กเกสรเพศผู้มักมี 1-6 อัน มีน้อยที่มีเกสรเพศผู้มากรังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก มี 1 ช่อง มีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลส่วนใหญ่เป็นผลแห้ง
ลักษณะเด่นประจำวงศ์
วงศ์ของพืชเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าหรือไหล ลำต้นกลม มีข้อและปล้องชัดเจน ด้านในปล้องกลวง ใบมักเป็นรูปแถบ เรียวยาว มีกาบและลิ้นใบ ไม่มีวงกลีบดอก ดอกย่อยมีใบประดับที่โคนช่อ 2 ใบ ดอกย่อยมีกาบบนและกาบล่าง เกสรเพศผู้มี 3 อัน รังไข่ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียแตกเป็น 2 แฉก
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Cyperaceae ลำต้นเป็นเหลี่ยม ใบมักเรียงเป็น 3 ระนาบ แผ่นใบที่อยู่ตอนโคนมักลดรูปเป็นกาบใบ ช่อดอกย่อยมี 1 ถึงหลายดอกย่อย
การกระจายพันธุ์
ทั่วโลกมีประมาณ 675 สกุล 10,000 ชนิด ประเทศไทยมี 100 สกุล 600 ชนิด หญ้าหลายชนิดเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิน เป็นแหล่งอาหารหรือพืชอาหารสัตว์
- สกุล Oryza ข้าว Oryza sativa L. ปลูกทั่วทุกภาคของประเทศ
- สกุล Zey ข้าวโพด Zey mays L.ผักกินเป็นอาหาร ใบและลำต้นนำมาทำวัสดุใช้สอย
- สกุล Arundo เช่น อ้อ Arundo donax L.
- สกุล Saccharum เช่น แขม Saccharum arundinaceum Retz.
- สกุล Spinifex หญ้าลอยลม Spinifex littoreus Merr. ขึ้นกระจายตามชายหาด
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.ph02.tci-thaijo.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์หญ้า พืชวงศ์นี้ได้แก่ หญ้าแฝก หญ้าไผ่ ไผ่ป่า พง ตองกง เป็นต้น