พืชวงศ์เข็มและสกุลของเข็ม RUBIACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

พืชวงศ์เข็ม RUBIACEAE ลักษณะวงศ์เป็น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก หรือไม้เลื้อย มีหูใบร่วมระหว่างโคนก้านใบ ใบ เดี่ยว ติดตรงข้าม แต่ละคู่ตั้งฉากกัน บางครั้งพบออกเป็นกระจุกที่ข้อเดียวกัน บางครั้งใบหนึ่งที่ข้อจะลดรูปไป ดอก สมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีกลีบดอกมี 4 หรือ 5 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายจักเป็นพู เกสรเพศผู้เป็น 2 คู่ ติดสลับกับพูกลีบดอก รังไข่ติดใต้วงกลีบ รังไข่มี 2 ช่อง ไข่อ่อนติดรอบแกน ผล เป็นแบบแห้งแตก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด หรือผลเมล็ดเดียวแข็ง

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์เข็ม RUBIACEAE เป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก ใบติดตรงข้าม หูใบรวมระหว่างโคนก้านใบ กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายมี 4-5 แฉก ใบมักมีผลึกรูปเข็ม

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Caprifoliaceae – ไม่มีหูใบ
  • Loganiaceae – ใบไม่มีผลึกรูปเข็ม และรังไข่ติดเหนือวงกลีบ
  • Rhizophoraceae – กลีบดอกแยกจากกัน

การกระจายพันธุ์

วงศ์เข็ม RUBIACEAE พบทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ 100 สกุล 600 ชนิด

  • สกลุ Argostemma ใบออกเป็นคู่ที่ข้อเดียวกัน มักจะไม่เท่ากัน ดอกจะคล้ายกับดอกมะเขือ
  • สกุล Gardenia ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กพบในป่าดิบชื้นที่ต่ำ
  • สกุล Hedyotis ไม้ล้มลุกและไม้พุ่ม พบในป่าดิบชื้นที่ต่ำ หรือป่าดิบเขาต่ำ และที่ที่โดนบุกรุก
  • สกลุ Hydnophytum ไม้อิงอาศัยที่มีลำต้นกลวงเป็นที่อาศัยของมด
  • สกุล Ixora ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก พบในป่าดิบชื้นที่ต่ำ
  • สกุล Mitragyna ไม้ต้น พบในป่าดิบชื้นที่ต่ำ เช่น กระทุ่มนา Mitragyna diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil.
  • สกุล Mussaenda ไม้พุ่ม ไม้พาดเลื้อย กลีบเลี้ยง 1 กลีบใหญ่ขึ้นและบาน สะดุดตา พบในป่าดิบชื้นที่ต่ำหรือป่าดิบเขาต่ำทั้งที่เป็นป่าเดิมและป่ารุ่น
  • สกลุ Psychotria ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้ต้น พบในปาดิบชื้นที่ต่ำหรือป่าดิบเขาต่ำ
  • สกุล Uncaria ไม้เลื้อย โดยมีตะขอเกาะ พบในป่าดิบชื้นที่ต่ำ ทั้งที่เป็น ป่าเดิมหรือป่ารุ่น
  • สกุล Urophyllum ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก พบในป่าดิบชื้นที่ต่ำและป่าดิบเขาต่ำ
กระทุ่มนา
กระทุ่มนา กลีบดอกสีนวล เป็นกระจุกแน่นตามปลายกิ่ง
เข็ม
ดอกเข็ม สีแดงเข้ม ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่

ประโยชน์

วงศ์เข็ม RUBIACEAE

  • เป็นสมุนไพร ได้แก่ สกุล Cinchona, Mussaenda, Uncaria, Coffea
  • ใช้เป็นสีย้อม ได้แก่ สกุล Morinda
  • ใช้เนื้อไม้ ได้แก่ สกุล Anthocephalus (Neolamarckia), Nauclea เ
  • ป็นไม้ประดับ เช่น สกุล Gardenia, Ixora, Mussaenda

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment