ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์แคหางค่าง BIGNONIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้เลื้อย หรือไม้ต้น เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบ มีเส้นใบออกจาก สองขางของเส้นกลางใบแบบขนนกดอกใหญ่และบานเด่นชัด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 2 ช่อง มีไข่อ่อนหลายหน่วยต่อ 1 ช่อง ผล เป็นแบบผลแห้งแตก แข็ง ผิวเรียบ เมล็ดมีปีก
ลักษณะเด่นของวงศ์
พืชวงศ์แคหางค่าง BIGNONIACEAE เป็นใบเดี่ยว ติดเป็นวงรอบข้อ หรือใบประกอบ ติดตรงข้ามแต่ละคู่ตั้งฉากกัน ใบ ด้านล่างมีดอกใหญ่บานเด่น เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน ผลแห้งแตก แข็ง ผิวเรียบ เมล็ดมีปีกและมีจำนวนมาก
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Gesneriaceae และ Scrophulariaceae – โดยทั้งสองวงศ์นี้พบน้อยที่เป็นไม้เนื้อแข็งและไม่พบเป็นไม้เลื้อย ใบของทั้งสองวงศ์เป็นใบเดี่ยว เมล็ดไม่มีปีก
- Verbenaceae – ไข่อ่อนมีจำนวนน้อย เมล็ดไม่มีปีก
การกระจายพันธุ์
สกุลแคหางค่าง พบในเขตร้อน มีบางชนิดเท่านั้นที่กระจายในเขตอบอุ่นในประเทศไทยมี 14 สกุล เช่น
- สกุล Millingtonia ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ได้แก่ ปีบ Millingtonia hortensis L.f.
- สกุล Oroxylum ไม้ต้นพบในป่าดิบชื้น ได้แก่ เพกา Oroxylum indicum (L.) Kurz
- สกุล Radermachera ไม้ต้นพบในป่าดิบชื้น เช่น แคชาญชัย Radermachera glandulosa (Blume) Miq.
- สกุล Stereospermum ไม้ต้นพบในป่าดิบชื้น ได้แก่ แคทราย Stereospermum neuranthum Kurz
ประโยชน์
เป็นพืชประดับ ได้แก่ น้ำเต้าต้น Crescentia cujete L. ศรีตรัง Jacaranda filicifolia (Anderson) D. Don ไส้กรอกแอฟริกา Kigelia africana (Lam.) Benth. แคแสด Spathodea campanulata P. Beauv. ชมพูพันธุ์ทิพย์ Tabebuia rosea (Bertol.) DC. ทองอุไร Tecoma stans (L.) Kunth ดอกจะมีนก ค้างคาว มาดูดน้ำหวาน เมล็ดมีปีก แพร่พันธุ์โดยลม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์แคหางค่าง BIGNONIACEAE มีพืชประดับด้วย เช่น น้ำเต้าต้น ศรีตรัง ทองอุไร เป็นต้น