วงศ์อบเชย LAURACEAE พืชสกุลอบเชย ไม้มีกลิ่นหอม

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์อบเชย LAURACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มีกลิ่นหอม เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่มีหูใบ ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ บางทีพบติดตรงข้าม ขอบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อ ดอกสมบูรณ์เพศ หรือเพศเดียว สมมาตรตามรัศมีดอกมีขนาดเล็กกลีบรวมมี 6  กลีบ เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 12  อัน เรียงเป็นวง 4 วง ๆ ละ 3 อับเรณู เปิดแบบช่องหนน้าต่าง รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1  ช่อง ไข่อ่อนมี 1 หน่วย ติดแบบห้อยลง ผลมีหลายเมล็ด หรือเมล็ดเดียวแข็ง มีก้าน

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์อบเชย LAURACEAE เป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มีกลิ่นหอม ดอกขนาดเล็ก เกสรเพศผู้เรียงเป็นวง ๆ ละ 3 อับเรณูเปิดแบบช่องหน้าต่าง ผลมีก้านบวมพอง

อบเชย
อบเชย ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
ดอกอบเชย
ดอกอบเชย ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Icacinaceae – มีไขอ่อน 2 หน่วย อับเรณูไม่มีลิ้นเปิดปิด
  • Monimiaceae – ใบออกกึ่งตรงข้าม ขอบใบจักซี่ฟัน

การกระจายพันธุ์

วงศ์อบเชย LAURACEAE พบทั่วโลก ในประเทศไทยมี 20 สกุล ส่วนมากอยู่ ในป่าดิบเขาสูงระดับน้ำ ปานกลาง  เช่น

  • สกุล Actinodaphne ใบแน่นเป็นกลุ่ม มักมีขนสีน้ำตาล ก้านผลบวมพอง ได้แก่ กาทิดหนู Actinodaphne angustifolia (Blume) Nees
  • สกุล Cassytha ไม้กาฝากเลื้อยพันต้นไม้อื่น รังไข่ติดใต้วงกลีบ ได้แก่ ฝอยทอง Cassythafiliformis L.
  • สกุล Cinnamomum ไม้ต้น ใบมักติดตรงข้ามเส้นใบ  3 เส้นออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ เช่น อบเชย Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet
  • สกุล Cryptocarya พืชในเขตร้อน ไม้ต้นในที่ต่ำและป่าดิบเขาชื้น รังไข่ ติดใต้วงกลีบ ได้แก่ ทังใบเล็ก Cryptocarya ferea Blume
  • สกุล Dehaasia ใบแห้งสีออกดำ ได้แก่ กระตืด Dehaasia suborbicularis (Lecomte) Kosterm.
  • สกุล Litsea พืชในเขตร้อน ส่วนมากเป็นไม้ต้นขนาดเล็กในที่ต่ำ และป่าดิบเขาชื้น ได้แก่ หมีเหม็น Litsea glutinosa (Lour.) C. B. Rob.
ต้นหมีเหม็น
ต้นหมีเหม็น ไม้ยืนต้น กิ่งอ่อนมีขนละเอียด
ดอกหมีเหม็น
ดอกหมีเหม็น ดอยย่อยสีเหลือง

ประโยชน์

ผลที่เป็นอาหารสัตว์พืชเครื่องเทศ ได้แก่ Cinnamomum เป็นสมุนไพร ได้แก่ Crytocarya Cinnamomum เป็นพืชอาหาร ได้แก่ Persea americana ที่ใช้เนื้อไม้ ได้แก่ Litsea บางชนิด

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment