ว่านเพชรหึง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยกา (สุราษฎร์ธานี) ตับตาน (แพร่) มือตับแก (ชุมพร) ว่านงูเหลือม (ใต้) ว่านหางช้าง (กทม.,เลย) เอื้องพร้าว (เชียงใหม่,เหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Letter plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grammatophyllum speciosum Blume
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะของว่านเพชรหึง
ต้น ว่านเพชรหึงเป็นกล้วยไม้ซึ่งถือได้ว่าเป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากอากาศ และมีลำต้นสูง อาจสูงถึงกว่า 3 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 30-60 ซม. เรียงตัวระนาบเดียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกพื้นสีเหลืองหม่น มีประสีน้ำตาลแกมม่วงกระจายทั่วกลีบ กลีบปากเล็กกว่ากลีบอื่นๆ แยก 3 แฉก ส่วนกลางกลีบมีสันนูน 3 สัน ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อดอกตรงหรือเอนเล็กน้อย ยาวได้ถึง 2 เมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 ซม. ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน
ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้
การขยายพันธุ์ของว่านเพชรหึง
การแยกหน่อ
ปลูกในที่กึ่งแดดถึงแดดแต่ไม่จัดมากนัก ใช้กาบมะพร้าวสับเป็นเครื่องปลูกขณะต้นยังเล็ก และใช้กาบมะพร้าวสับผสมอิฐแดงทุบเมื่อต้นโตขึ้น ไม่ควรรดน้ำจนชุ่มแฉะเพราะจะทำให้กอเน่าง่ายหรือเป็นโรคง่าย
ธาตุอาหารหลักที่ว่านเพชรหึงต้องการ
ประโยชน์ของว่านเพชรหึง
ลำต้น ผสมเหล้าเอาส่วนน้ำกิน เอากากพอกแผล แก้อักเสบเนื่องจากงู ตะขาบ แมงป่อง กัดต่อย แต่ถ้าอักเสบจากงูกัดอาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วจึงนำส่งโรงพยาบาล
สรรพคุณทางยาของว่านเพชรหึง
- ใบ ขับระดูพิการ แก้พรรดึก แก้คุณอันบุคคลกระทำด้วยเนื้อ
- ดอก แก้คุณบุคคลกระทำด้วยผม และถ่ายแก้คุณผีคุณคน
- เหง้า ต้มแก้คางทูม คั้นเอาน้ำดื่มแก้ท้องมาน
คุณค่าทางโภชนาการของว่านเพชรหึง
การแปรรูปของว่านเพชรหึง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9217&SystemType=BEDO
https://www.royalparkrajapruek.org
http://www.hinsorn.ac.th
https://www.flickr.com
One Comment