ว่านงาช้าง ไม้ฟอกอากาศ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นสวนสมุนไพรภายในบ้านเรือน

ว่านงาช้าง

ชื่ออื่นๆ : ว่านงาช้างเขียว, ว่านงาช้างลาย, หอกสุรโกฬ, ว่านงู, หอกสุรกาฬ (ทั่วไป)

ต้นกำเนิด : อยู่ในแถบแอฟริกาใต้

ชื่อสามัญ : Common Spear Plant, Spear Sansevieria

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sansevieria cylindrica Bojer ex Hook.

ชื่อวงศ์ : DRACAENACEAE

ลักษณะของว่านงาช้าง

ต้น ไม้พุ่ม สูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกหุ้มด้านนอกสีส้ม เนื้อภายในมีสีเหลืองอ่อน

ใบ ใบเดี่ยว แทงออกมาจากเหง้าและตาโผล่เหนือพื้นดินคล้ายลำต้นเทียม รูปทรงกระบอก ปลายแหลม สีเขียวตลอดทั้งใบ มีแถบสีเขียวเข้มพาดตามขวางสม่ำเสมอ ร่องตื้นพาดตามความยาวของใบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อ จากเหง้า ยาว 40-60 เซนติเมตร มีกาบหุ้มก้านช่อดอก ดอกย่อยเรียงเวียนรอบก้านช่อดอก ดอกสีขาวอมเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแยก 5 แฉก ม้วนงอไปด้านหลัง

ดอกว่านงาช้าง
ดอกว่านงาช้าง ดอกออกเป็นช่อ สีขาวอมเหลือง

ว่านงาช้างมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ว่านงาช้างเขียว (หอกสุรกาฬ) คือ ชนิดใบสีเขียวล้วนตลอดใบ และมีร่องตามแนวความยาวใบ
2. ว่านงาช้างลาย (หอกสุรโกฬ) คือ ชนิดใบสีเขียวและมีลายสีเขียวอมดำเป็นปล้อง ๆ ตลอดความยาวใบ

ว่านงาช้าง
เป็นแท่งกลมยาว ปลายใบแหลมสูง

การขยายพันธุ์ของว่านงาช้าง

แยกหัว แยกกอ

ธาตุอาหารหลักที่ว่านงาช้างต้องการ

ดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูง ต้องการน้ำปานกลาง แดดรำไร

ประโยชน์ของว่านงาช้าง

เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นสวนสมุนไพรภายในบ้านเรือน
คนโบราณว่าไว้ ว่านงาช้างเป็นว่านมงคล มีไว้ป้องกันคุณไสยและมนต์ดำ ทางด้านโชคลาภดีมากๆ อีกทั้งยังเป็นไม้ที่มีความเป็นมงเป็นคล ช่วยหนุนนำให้การทำมาค้าขายคล่อง มีกำไรตลอดทั้งปี

ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดว่านงาช้างมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่าความเข้มข้นของสารที่ทาให้อนุมูลอิสระลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณอนุมูลอิสระทั้งหมด (IC50) เท่ากับ 1989.00, 1947.73, และ 1828.36 mcg/ml จากตัวทาละลาย petroleum ether, dichloromethane, และ 95% ethanol ตามลาดับ

ต้นว่านงาช้าง
ลำต้นใต้ดิน แทงขึ้นมาเหนือดิน ทรงใบอวบตั้ง

สรรพคุณทางยาของว่านงาช้าง

  • ราก รสเอียน แก้ริดสีดวงทวารและเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ใบ หรือส่วนที่เป็นแท่งกลมเหมือนงาช้าง รสเอียน ขับโลหิตหลังคลอด โรคบาดทะยักในเรือนไฟ แก้เลือดตีขึ้นหน้า ผู้ที่เป็นสิวฝ้า หน้าตกกระ รับประทานยานี้จะเห็นผลในไม่ช้า ชาวมลายูและซูลู ในแอฟริกา ตัดเอาปลายใบไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหูแก้ปวดหู ในอินโดนีเซียคั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม

วิธีและปริมาณที่ใช้
1. แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาถ่ายพยาธิโดยใช้รากสด 5-10 กรัม นำมาล้างให้ สะอาดโขลกให้ละเอียดอาจจะผสมเหล้าโรงเล็กน้อยก็ได้ คั้นเอาแต่น้ำจิบ
2. ขับโลหิตหลังคลอดโดยใช้ใบหรือส่วนที่เป็นแท่งกลมเหมือนงาช้าง หั่นเป็นแว่น ๆ หรือโขลกกับเหล้าโรงหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม วันละ 2-3 ครั้ง

คุณค่าทางโภชนาการว่านงาช้าง

การแปรรูปของว่านงาช้าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://data.addrun.org/plant/archives/617-sansevieria-cylindrica-bojer-ex-hook
www.pharmacy.mahidol.ac.th
www.ewt.prd.go.th

One Comment

Add a Comment