ว่านชักมดลูก ว่านมดลูก สามารถช่วยปรับให้อารมณ์เป็นปกติได้

ว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

ชื่ออื่นๆ : ว่าน, ว่านชักมดลูก, ว่านหมาว้อ (อุบลราชธานี)

ต้นกำเนิด : เกาะบาหลี เกาะชวา

ชื่อสามัญ : ว่านชักมดลูก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma comosa Roxb.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

ต้น ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 – 20 ซม. ยาว 40 – 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ

ดอก ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15 – 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง

ผล ผลแห้ง แตกได้

ต้นว่านชักมดลูก
ต้นว่านชักมดลูก ไม้ล้มลุก หัวใต้ดินขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์ของว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ว่านชักมดลูก ว่านมดลูกต้องการ

ประโยชน์ของว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

บรรเทาอารมณ์แปรปรวน ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนหรือวัยทองที่มีการแปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ว่านชักมดลูกสามารถช่วยปรับให้อารมณ์เป็นปกติได้

ดอกว่านชักมดลูก
ดอกว่านชักมดลูก ดอกสีแดงอ่อน กลีบดอกสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

  • ราก
    – แก้ท้องอืดเฟ้อ
  • เหง้า
    – เป็นยาบีบมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วหลังจากการคลอดบุตร ทำให้ประจำเดือนมาปกติ ขับประจำเดือนในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาโรคมดลูกพิการปวดบวม
    – แก้ปวดมดลูก
    – แก้ริดสีดวงทวาร
    – แก้ไส้เลื่อน
    – ขับเลือด ขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลม
    – รักษาอาการอาหารไม่ย่อย

คุณค่าทางโภชนาการของว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

การแปรรูปของว่านชักมดลูก ว่านมดลูก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12222&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment