ว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

ว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

ชื่ออื่นๆ : ว่านหมูกลิ้ง, พญาเทครัว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ว่านช้างผสมโขลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chang Pa Som Khlong,Eulophia graminea

ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE

ลักษณะของว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

ลักษณะ ต้นว่านเป็นหัวเหมือนดั่งหน่อไม้แรกแทงหน่อ แต่ไม่มีก้านหุ้มแบบหน่อไม้ หัวเหมือนหัวหอม สีของหัวมีสีเขียวสด ใบมีสีเขียวอ่อน ยาวเรียวดั่งใบแขวกน้ำหรือใบว่านน้ำ มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย มองดูก็คล้ายกับใบข้าวกาบใบแต่ละใบจะหลุดหล่นไปเมื่อว่านขยายตัวเต็มที่ และได้ฤดูออกดอก ดอกจะมีสีน้ำตาลอมเขียว ปากดอกมีหยักตั้งขึ้นเล็กน้อย เป็นสีขาวสลับด้วยลายสีม่วงเป็นขีดๆ ก้านช่อดอกตั้งตรง ช่อหนึ่งมีหลายดอก และแต่ละดอกจะบานจากล่างไปหาบนตามลำดับ

ว่านช้างผสมโขลง
ว่านช้างผสมโขลง ดอกจะมีสีน้ำตาลอมเขียว

การขยายพันธุ์ของว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

ใช้ส่วนอื่นๆ/วิธีการปลูก ใช้หน่อแยกปลูก โดยดึงหน่อให้แยกจากต้นเดิมแล้วหากกระถางดินขนาดใหญ่กว่าหัวว่านสามเท่า เอาดินร่วนปนทรายหรือปนหินเล็กๆ อิฐหักๆก็ได้ใส่ลงไปเล็กน้อย เอามือรวบรากว่านใส่ลงไปในกระถางให้ลงลึกๆแล้วเอาดินที่เตรียมไว้กลบรากให้มิด แต่อย่าให้หน่อว่านฝังลงไปในดินมากนัก ว่านจะเจริญงอกงามดี รดน้ำอย่าให้แฉะให้อยู่ในที่ร่มรำไร เลี้ยงง่ายมาก และเจริญรวดเร็วยิ่งนักหากจะนำมาไว้ในห้องรับแขกหรือในห้องพระฤาห้องนอนก็ได้ เมื่อเวลาใบงอกเต็มที่จะดูงามตาว่านชนิดนี้ใบจะเรียงขึ้นเป็นชั้นๆปลายใบเรียวโค้งลงนิดๆสีเขียวอ่อนของใบจะตัดกับสีของหัวว่านน่าชมยิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)ต้องการ

ประโยชน์ของว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

ชิ้นว่านหรือหัวว่าน ใช้ติดตัวเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม เข้าสมาคมได้ทุกหนทุกแห่ง และจะไปทำกิจกรรมใดๆ ก็มักจะได้รับผลสำเร็จ เกิดความดี มีชัยชนะทุกสถานทำมาค้าขายได้ลาภผลสมดังปรารถนาแลหากจะทำให้เกิดเสน่ห์ทางนักเลงชู้สาว ท่านให้เขียนชื่อของผู้ที่เราจะไปติดต่อลงในชิ้นว่าน แล้วเอามาตำให้ละเอียดโรยใส่ให้ผู้นั้นกิน จะทำให้หลงรักยิ่งนักแล

สรรพคุณทางยาของว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

สรรพคุณทางยา หัวว่านหรือชิ้นว่านหากตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำซาวเข้าพอกฝีหัวเดียวชะงัดยิ่งนักหญิงใดเป็นฝีที่นมทั้งสองข้าง หากใช้ว่านนี้พอกไว้ฝีจะแห้งเหือดในไม่ช้า และใช้แก้ฝีได้ทุกชนิด

คุณค่าทางโภชนาการของว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

การแปรรูปของว่านช้างผสมโขลง (พญาเทครัว)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11311&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment