ว่านท้องใบม่วง
ชื่ออื่นๆ : ว่านกอบ, หย่าเลี้ยะ (ม้ง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura bicolor (Roxb. ex Willd.) DC
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ลักษณะของว่านท้องใบม่วง
ไม้ล้มลุก อวบน้ำ สุง 20-40 ซม. ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-10 ซม. ขอบใบหยัก มีขนทั้งสองด้าน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีม่วงแดง ดอกช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ดอกย่อยสีเหลืองสด ผล แห้ง ไม่แตก มีหลายสัน
การขยายพันธุ์ของว่านท้องใบม่วง
ตัดกิ่งชำ
ธาตุอาหารหลักที่ว่านท้องใบม่วงต้องการ
ประโยชน์ของว่านท้องใบม่วง
ภาคเหนือนำยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักรับประทานกับลาบ
สรรพคุณทางยาของว่านท้องใบม่วง
- รากต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้องหลังคลอดลูก และแก้อาหารเป็นพิษ
- ใบต้มกับไก่กินเป็นยาบำรุงกำลังและแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ตำรายาไทยและจีนใช้ ใบสดตำละเอียดผสมสุราพอกปิดฝี แก้ฟกบวม แก้คัน แก้พิษอักเสบ แก้พิษแมลงกัดต่อย งูสวัด เริม
คุณค่าทางโภชนาการของว่านท้องใบม่วง
การแปรรูปของว่านท้องใบม่วง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11121&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com