ว่านนางกวักใบโพธิ์ ปลูกเป็นไม้ประดับ-ไม้กระถาง มีสรรพคุณทางมหานิยม

ว่านนางกวักใบโพธิ์

ชื่ออื่นๆ : ว่านางกวัก, ว่านทรหด, ว่านนกคุ่ม ว่านนางกวักใบโพธิ์

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia cuculata

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะของว่านนางกวักใบโพธิ์

เป็นต้นที่มีก้านตั้งตรงจากลำต้นหนา 3-6เซนติเมตร ก้านใบยาวตั้งแต่ 20-85 เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบโพธิ์  มีก้านใบเชื่อมถึงกัน ใบมีสีเขียวแกมน้ำเงิน ใบด้านบนเป็นมัน เห็นเส้นใบโค้งตามรูปใบชัดเจน ต้นที่สมบูรณ์จะมีใบใหญ่เป็นมันและมีก้านใบยาว เมื่อมีอายุมากๆ จึงจะเห็นหัวโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ดอกคล้ายดอกจำปีตูม

ว่านนางกวักใบโพธิ์
ว่านนางกวักใบโพธิ์ ใบเหมือนใบโพธิ์ ใบสีเขียวมัน

การขยายพันธุ์ของว่านนางกวักใบโพธิ์

การแยกหน่อ

ควรปลูกด้วยดินปนทราย เลี้ยงในร่มรำไร ในอาคาร รดน้ำวันละ 1 ครั้ง

ธาตุอาหารหลักที่ว่านนางกวักใบโพธิ์ต้องการ

ประโยชน์ของว่านนางกวักใบโพธิ์

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล​ ไม้ฟอกอากาศ
  • ใช้ประดับตกแต่งให้อาคารบ้านเรือนสวยงาม
  • สมุนไพรแก้โรคได้หลายชนิด เช่น แก้พิษแมลงต่าง ๆ แก้พิษงู แก้ไข้ แก้เจ็บคอ และแก้โรคปวดหัว เป็นต้น

มีสรรพคุณทางมหานิยม เหมาะแก่ร้านค้าขายจะหามาปลูกเลี้ยงไว้หน้าร้าน ช่วยกวักเรียกลูกค้าให้มาอุดหนุน

สรรพคุณทางยาของว่านนางกวักใบโพธิ์

ส่วนที่เป็นพิษ ก้านใบ ใบ ผล สารพิษที่พบ ผลึกแคลเซียมออกซาเลท (ก้านใบ ใบ) cyanogenic glycoside (ผล)

อาการพิษ ผลึกแคลเซียมออกซาเลท จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีอาการคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบ บวม และพองเป็นตุ่มน้ำใส หากถูกตาจะทำลายเยื่อบุตา ถ้ารับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อปากและคอ เสียงแหบ น้ำลายไหล อาเจียน แสบร้อนผิวหนังที่สัมผัส เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ลิ้น และเพดานปากบวม พอง บางรายอาจพูดลำบาก ไม่มีเสียง อาการที่รุนแรงมากคือ กลืนลำบากถึงกลืนไม่ได้ อาจทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบรุนแรงได้

คุณค่าทางโภชนาการของว่านนางกวักใบโพธิ์

การแปรรูปของว่านนางกวักใบโพธิ์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9942&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment