ว่านมหากาฬ ไม้ประดับที่นิยมปลูกทั่วไป ใบนำมารับประทานเป็นผักได้

ว่านมหากาฬ

ชื่ออื่นๆ : ว่านมหากาฬ (กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง) คำโคก (ขอนแก่น-เลย) หนาดแห้ง (นครราชสีมา) ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์) ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudo-chian DC. var. hispida Thv.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะของว่านมหากาฬ

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีขนาดเล็ก ลำต้นสั้น และใหญ่ มีตาอยู่โดยรอบ ไม่มีใบเกล็ดต้นเป็นพรรณไม้ลงหัวในดิน เนื้อหัวนั้น จะเป็นสีขาว

ใบ ใบจะมีลักษณะคล้ายใบผักกาด จะออก แผ่อยู่บนดิน ใบนั้นจะหนาและแข็ง ขอบใบ เป็นหยักๆ คล้ายใบผักกาดหัว ใบอ่อนจะเป็น สีม่วงแก่ ตามแขนงของใบจะเป็นสีขาว ส่วน ก้านใบแก่เข้า ก็จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว

ดอก ดอกจะออกเป็นสีเหลือง เป็นฝอย มีลักษณะคล้ายดอกดาวเรือง แต่ดอก

ผล ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

ต้นว่านมหากาฬ
ต้นว่านมหากาฬ ลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นหัว ส่วนลำต้นเหนือดินมีสีเขียวแกมม่วง

การขยายพันธุ์ของว่านมหากาฬ

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

การปลูกนิยมใช้ส่วนหัวหรือเหง้าใหม่แบ่งปลูก รวมถึงการนำส่วนต้นอ่อนมาปักชำ ด้วยการปลูกในแปลงดินที่ว่างหรือการปลูกในกระถาง สำหรับดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วน หากเป็นดินร่วนอาจใช้เพียงดินเพียงส่วนเดียวก็ได้ แต่แนะนำให้ผสมปุ๋ยคอกหรือวัสดุการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ในอัตราส่วนดิน:วัสดุ ที่ 1:1 หรือ 2:1 หากเป็นดินชนิดอื่น เช่น ดินเหนียวหรือดินทราย ควรใช้อัตราส่วนที่ 1:1 หรือ 1:2 เป็นอย่างต่ำ

เนื่องจากต้นว่านน้ำเป็นพืชที่มีลักษณะอวบน้ำ ชอบความชื้น จึงต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1-2 ครั้ง

ธาตุอาหารหลักที่ว่านมหากาฬต้องการ

ประโยชน์ของว่านมหากาฬ

  • ว่านมหากาฬ เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันตามบ้านทั่วไปเพราะมีลวดลายของใบที่สวยงาม
  • ชาวลั้วะจะใช้ใบเพื่อนำไปประกอบอาหาร และชาวเมี่ยน ใช้ใบสดนำมารับประทานเป็นผักเครื่องเคียงร่วมกับลาบ
  • ในตำหรับยาไทยโบราณเป็นสมุนไพรมีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ พิษเซื่องซึม แก้ไข้ แก้เพ้อ คลุ้มคลั่ง แก้พิษตานซาง แก้เริม งูสวัด แก้อาการกระสับกระส่าย รักษาแผลมดลูกในสตรี ช่วยขับประจำเดือน  ใบสด ขับระดู ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้อักเสบ
  • นอกจากนี้ มีการศึกษาวิจัยพบว่า ว่านมหากาฬ เป็นพืชที่สามารถสะสมโลหะหนักสังกะสีและแคดเมียมได้สูง ในอนาคตคาดว่าจะมีการนำมาใช้ปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพดินในเหมืองแร่ และฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักเป็นต้น

สรรพคุณทางยาของว่านมหากาฬ

ส่วนที่ใช้ ใบ หัว ใช้เป็นยา

สรรพคุณ

  • ใบ ใช้สด ๆ โดยโขลกผสมกับเหล้า ใช้ พอกฝี หรือหัวลำมะลอก ทำให้เย็น และใช้ ถอนพิษ รักษาอาการปวดแสบปวดร้อน
  • หัว ใช้กินดับพิษกาฬ พิษร้อน รักษาพิษ ไข้เซื่องซึม กระสับกระส่าย รักษาพิษอักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของว่านมหากาฬ

การแปรรูปของว่านมหากาฬ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9626&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment