ว่านสากเหล็ก ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม

ว่านสากเหล็ก

ชื่ออื่นๆ : ว่านสากเหล็ก, จ๊าลาน, มะพร้าวนกคุ่ม (เชียงใหม่) พร้าวนก, พร้าวนกคุ่ม (นครศรีธรรมราช) ละโมยอ (มาลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ว่านสากเหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curculigo megacarpa Ridl.

ชื่อวงศ์ : HYPOXIDACEAE

ลักษณะของว่านสากเหล็ก

ต้น  ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม

ใบ  เรียงสลับติดกันที่โคนต้น แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก พับเป็นร่อง ๆ ตามยาว คล้ายใบปาล์ม กว้างประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบ ก้านใบยาว 25 – 30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มลำต้น

ดอก  ดอก มี 6 กลีบ สีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันแน่น เป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 5 – 7 เซนติเมตร กว้าง ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร

ผล  ผลแก่สีขาวถึงแดง ขนาดยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ส่วนที่ด้านขั้วป่อง ออกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายผล

ว่านสากเหล็ก
ว่านสากเหล็ก ไม้ล้มลุกคล้ายพืชพวกปาล์ม

การขยายพันธุ์ของว่านสากเหล็ก

การใช้เมล็ดและแยกต้น (หน่อ)

ธาตุอาหารหลักที่ว่านสากเหล็กต้องการ

ประโยชน์ของว่านสากเหล็ก

ผลรับประทานได้เมื่อสุกมีรสหวานมาก

สรรพคุณทางยาของว่านสากเหล็ก

ยาพื้นบ้านอีสานใช้

  • ราก ฝนทา แก้สิวฝ้า ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ เหง้า 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม วันละสามครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ราก 10-15 กรัม ต้มน้ำดื่ม วันละสามครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น รับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกจากที่เดิมให้เป็นปกติ วิธีใช้คือนำรากมาหั่นบางๆ ตากแห้ง ดองสุราหรือบดรับประทาน ชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้มดลูกอักเสบ บำรุงกำลัง ปรุงยาขัดผิว แก้สิวฝ้า จุดด่างดำบนใบหน้า ทำให้หน้าขาว แต่เมื่อถูกแดดจะทำให้หน้าดำ
  • ดอก 100-150 กรัม  ราก 10-15 กรัม ต้มน้ำดื่ม วันละสามครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของว่านสากเหล็ก

การแปรรูปของว่านสากเหล็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11667&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment