สตีต้น
ชื่ออื่นๆ : ก่อเรียน (นครศรีธรรมราช) เงาะป่า, เงาะมัน, แจงเขา (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) สตีต้น (เลย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ทุเรียนเงาะ เงาะป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sloanea sigun (Blume) K. Schum
ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE
ลักษณะของสตีต้น
ต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. กิ่งเกลี้ยง
ใบ ใบรูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน ยาว 5-22 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนกลมหรือรูปลิ่ม แผนใบมีขนประปรายตามเส้นแขนงใบด้านล่าง ก้านใบยาว 1-5 ซม. ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน
ดอก ดอกสีเหลืองอ่อน มี 4 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ ปลายจัก แผ่นกลีบมีขนกระจายทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ยาว 5-7 มม. รวมรยางค์ รังไข่รูปไข่ มีขน ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง
ผล ลักษณะกลมเป็นผลชนิดแห้ง มีขนคล้ายขนเงาะแต่เป็นหนามแข็ง วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม. สีเขียว ถึงสีน้ำตาลอ่อน แห้งแล้วแตก
การขยายพันธุ์ของสตีต้น
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สตีต้นต้องการ
ประโยชน์ของสตีต้น
เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตรและเครื่องมือต่างๆ
สรรพคุณทางยาของสตีต้น
–
คุณค่าทางโภชนาการของสตีต้น
การแปรรูปของทุเรียนเงาะ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10487&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com